วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หนังงง

– เรื่องราวของผีดิบเดินได้ที่เรียกว่าซอมบี้นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดนแถบริมฝั่งทะเลคาริบเบียน ต่อมาได้เผยแพร่ขยายไปในส่วนต่างๆของยุโรป ผู้ที่ทำพิธีกรรมทางไศยศาสตร์ ปลุกผีดิบพวกนี้ขึ้นมาคือบรรดาพ่อมดหมอผีผู้รอบรู้เกี่ยวกับวิชามนต์ดำในลัทธิวูดู อันเป็นลัทธิหนึ่งซึ่งมีวิธีปลุกศพคนตายให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาด้วยอำนาจแห่งไสยเวทย์ โดยการท่องมนต์ลึกลับอ้อนวอนต่อ “เวสตู” เทพเจ้าแห่งปีศาจและความชั่วร้าย นอกจากนั้นลัทธิวูดูยังมีมีพิธีการเกี่ยวกับการสาปแช่งและสังหารศัตรูด้วยวิธีการของมนต์ดำ
– ซอมบี้ที่ตายไปแล้วเป็นซอมบี้ที่เกิดจากเวทมนตร์ดำ มักจะไม่ทำร้ายผู้คน เว้นแต่จะเป็นซอมบี้ที่ถูกปลุกจากพวกหมอผีหรื่อพวกลัทธินอกรีต มักจะมีนิสัยดุร้าย ชอบกินพวกซากคนตายตามสุสานซากสัตว์ต่างๆหรือแม้แต่คนเป็นก็ย่อมได้ ซอบี้พวกนี้มีลักษณะผอมโซ เคลื่อนที่ช้า แต่บางพวก เช่น ซอมบี้ที่มีชื่อว่าน็อตซือเฮอเรอร์(nachtzeher)จะมีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว
– ซอมบี้ที่ถูกดัดแปลงเป็นซอมบี้ที่เกิดจากพวกนักวิทยาศาสตร์ที่ทดลองเกี่ยวกับชีวเคมี ส่วนใหญ่คือ พวกแฟรงเก้นสไตน์นั่นเอง แต่ที่ปรากฏในเกมหรือภาพยนตร์ มักจะเป็นซอมบี้ที่เกิดจากการทดลองไวรัสปรสิต มีการเคลื่อนไหว่เชื้องช้า(เพราะเป็นคนที่ตายไปแล้วเลือดจะแข็งตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก)เมื่อใดที่ซอมบี้พวกนี้กัดหรือข่วนมนุษย์ในไม่ช้า คนๆนั้นก็จะกลายเป็นซอมบี้เช่นเดียวกัน ซอมบี้พวกนี้ลักษณะเป็นคนหน้าซีด ตาขาว มีฟันที่ไม่ตรงกันและมีฟันที่เหลือง มีเลือดชุ่มตัว น่าสยดสยอง มีจุดอ่อนที่หัวเพราะซอมบี้พวกนี้ มักถูกไวรัสควบคุมที่สมอง ถ้าใช้อาวุธคมพวกขวานหรือ ดาบฟันเข้า จะหยุดการทำงานของซอมบี้ ส่วนภาพยนตร์ที่โด่งดังที่ทุกคนรู้จักซอมบี้ในทุกๆแห่ง คงหนีไม่พ้นหนังเรื่อง Resident Evil(ผีชีวะ) ซึ่งดัดแปลงมาจากเกม Resident Evil มาทำเป็นภาพยนตร์นั่นเอง
download

บ้านผีปอบ

งานสร้าง[แก้]

ที่มา[แก้]

ในช่วงที่ตลาดหนังไทยยังพอไปได้ แต่ยังไม่ค่อยดี บริษัทกรุ๊ฟโฟร์ ที่มีทีมงานอยู่ไม่กี่คนได้รวมตัวกันเพื่อจะสร้างหนัง ซึ่งคิดว่าหนังผีน่าจะเป็นทางออกที่น่าจะประสบความสำเร็จได้ มีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยช่วยกันหาเงินมาทำหนัง เรื่องหนึ่งใช้เงินประมาณ 4 แสนกว่าบาท โดยประเด็นที่เลือกคือผีปอบ เพราะเคยมีหนังผี กระสือ หรือ แม่นาคพระโขนง และคิดว่าการนำเสนอเรื่องผีปอบที่ชาวบ้านเล่าลือกันมากในแถบภาคอีสานเป็นสิ่งใหม่และไม่มีใครทำมาก่อน[3]

การถ่ายทำ[แก้]

ในภาคแรกได้งบประมาณในการสร้างน้อยมาก ใช้เวลาถ่ายทำที่สุพรรณบุรีเพียง 7 วัน และใช้นักแสดงหน้าใหม่เกือบทั้งหมด ในภาคต่อมาเริ่มมีเงินทุนมากขึ้น มีเวลาถ่ายทำมากขึ้น ตั้งแต่ 10-20 วัน จนภาค 13 ใช้เวลาถ่ายทำถึง 2 เดือน [3]

เนื้อหา[แก้]

โครงเรื่องของภาพยนตร์เรื่อง บ้านผีปอบ จะคงโครงเรื่องเดิม ๆ ไว้ คล้ายๆ กันทุกภาค แต่จะเปลี่ยนมุกตลกต่างๆ เนื้อเรื่องหลักคือ กลุ่มแพทย์จากกรุงเทพฯ ที่มารักษาชาวบ้าน เจอเหตุการณ์แปลกๆในหมู่บ้าน อันเนื่องมาจากการอาละวาดของผีปอบ ชาวบ้านก็ต่างหาวิธีจับผีปอบ แต่สุดท้ายก็โดนผีปอบอาละวาดกลับ โดยลักษณะจุดเด่นของบ้านผีปอบคือ การวิ่ง ไล่หนีกันระหว่าง ผีปอบ และ ตัวละครในเรื่อง[3]

ปอบ[แก้]

ในแต่ละภาคจะมีผีปอบอย่างน้อย 1 คนที่คอยปั่นป่วนชาวบ้านเสมอ ในภาคแรกปอบคือ ยายทองคำ (รับบทโดย สุชาดา อีแอม) มีเอกลักษณ์ตรงใบหน้าที่ดุร้าย ไม่ค่อยมีอารมณ์ขันมากนักสำหรับภาคแรก (ยายทองคำกลับมาอีกครั้งในภาค 11) คนต่อมาคือ ยายหยิบ หมอผีประจำหมู่บ้าน ผู้เล่นของและคุณไสย จนกลายเป็น ปอบหยิบ (รับบทโดย ณัฐนี สิทธิสมาน) ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกในภาค 2 ลักษณะท่าทางยังคงความน่ากลัวอยู่ จนภาค 3 ที่ปรับให้เพิ่มความตลกขบขันจนได้รับเสียงตอบรับที่ดี ปอบหยิบมีเอกลักษณ์คือ ท่าหยิบ ที่ได้แรงบันดาลใจจากไก่ต้มที่โดนสับคอแล้วปีกจะกระดกขึ้นมา ส่วนในภาค 8 ปอบหยิบจะหายไป และมีปอบคนใหม่ คือ ผีปอบฝรั่งชื่อ แอน (รับบทโดย วิกกี้ สาริกบุตร) เนื่องจากเปลี่ยนผู้กำกับจาก ศรีสวัสดิ์ ที่กำกับมาตลอด 7 ภาค มาเป็น ธงทอง แต่ก็ล้มเหลว จนปอบหยิบต้องกลับมาอีกครั้งในภาค 9 เป็นต้นมา[3]

ภาค[แก้]

ปีชื่อภาคปอบหมายเหตุ
2532บ้านผีปอบปอบทองคำเปิดตัวปอบทองคำ
2532บ้านผีปอบ 2ปอบหยิบ ปอบกระดึงเปิดตัวปอบหยิบ, ใช้มุขหลบในตุ่มเป็นครั้งแรก
2533บ้านผีปอบ 3ปอบหยิบ ปอบหมอผีคล้ายเปลี่ยนนางเอกจาก ตรีรัก รักการดี เป็น รักษ์สุดา สินวัฒนา , เกียรติ กิจเจริญ (ซูโม่กิ๊ก) รับบทเป็นพระรอง เรื่องบ้านผีปอบ (3-7) อย่างเต็มตัว
2534บ้านผีปอบ 4ปอบหยิบ ปอบหมอผีคล้ายเปิดตัวบุญชอบ (กฤษณ์ ศุกระมงคล), มุข กระโดดถอยกลับ โดยเทคนิค ภาพ Auto Reverse ใช้ในภาคนี้[4], มุข ทาสีทำเป็นประตูลวง, ปอบหยิบ ไถล สเก็ตบอร์ด
2534บ้านผีปอบ' 34 (ภาค 5)สร้างโดยทีมงานอื่น ใช้ชื่อว่า บ้านผีปอบ' 34 และเมื่อทีมงานบ้านผีปอบ 1-4 มาสร้างภาคต่อ ก็ข้ามไปภาคที่ 6 เลย โดยถือว่าภาคนี้เป็นภาคที่ 5 เพื่อไม่ให้ผู้ชมสับสน ภาคนี้มีเนื้อเรื่องใหม่หมด เปลี่ยนปอบเป็น มณีรัตน์ วัยวุฒิ,มุขเอาของออกจากป้ายโฆษณา
2534บ้านผีปอบ 6ปอบหยิบปอบหยิบกลับมา พร้อมอุปกรณ์จับผีปอบแบบพิสดารมากมาย เปลี่ยนจากกลุ่มตลกกลิ่นสี เป็น ซูโม่สำอาง อย่าง ซูโม่โค้ก (สมชาย เปรมประภาพงศ์) และ ซูโม่เอ๋ (เกรียงไกร อมาตยกุล) ร่วมด้วย สุเทพ ประยูรพิทักษ์, ภาคนี้ ธงชัย ประสงค์สันติ ไม่ได้แสดง, มุข ปอบหยิบบินได้ด้วยพัดสันกำแพง
2535บ้านผีปอบ 7ปอบหยิบไล่จับผีปอบถึงเขาพระวิหารธงชัย ประสงค์สันติ กลับมาแสดงนำอีกครั้ง, ภาคสุดท้ายของ เกียรติ กิจเจริญ
2535บ้านผีปอบ 8ปอบแอน (ปอบฝรั่ง)สมาชิกในทีมวิจัยผีปอบ คือ แอน โดนผีปอบเข้าสิง , กลุ่มตลก กลิ่นสี (กาละแม, ซานโต๊ส,ชลิต) กลับมาร่วมแสดงใน Series บ้านผีปอบ อีกครั้ง, ศุภกร อุดมชัย และ ท้วม ทรนง มาร่วมกลุ่มวิ่งหนีผีปอบด้วย
2536บ้านผีปอบ 9ปอบหยิบ, ปอบแอน (ปอบฝรั่ง)ปอบหยิบสร้างความอลหม่านในกรุงเทพฯ เพราะหลุดหลงกับทีมนักวิจัยผีปอบ ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพงกล้วย เชิญยิ้ม มาร่วมแสดงอยู่ในแก๊งค์วิ่งหนีผีปอบเช่นกัน, ตลกอาวุโส สงัด เหงือกงาม กลับมาเล่นเป็น ลุงบิลลี่ อีกครั้งในภาคนี้, มุกวิ่งเข้าไปหลบในทีวี
2536บ้านผีปอบ 10ปอบหยิบมีของเล่นประเภทจรวด, วิ่งหนีปอบหยิบรอบบริเวณที่ฉาย หนังกลางแปลง, มุกขึ้นรถชาวบ้านพอถึงที่หมายแล้วคิดเงิน
2537บ้านผีปอบ 11ปอบหยิบ ปอบทองคำปอบทองคำฟื้นคืนชีพ ขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะภาพวาดในหนังสือการ์ตูนบ้านผีปอบ , หม่ำ จ๊กมก และ น้อย โพธิ์งาม มาร่วมแสดงอยู่ในแก๊งค์ วิ่งหนีผีปอบ เป็นภาคแรก ในภาคนี้, มี อ.อู๊ดดี้- ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ นักวาดภาพชื่อดัง จากรายการ มาตามนัด รับบทเป็นนักเขียนการ์ตูน เรื่อง บ้านผีปอบ
2537บ้านผีปอบ 13ปอบหยิบ ปอบดี้ (ผีปอบเขมร)ข้ามภาคที่ 12 ไปเลย โดยให้เหตุผลว่า เพื่อไม่ให้เป็นผีโหลๆ ภาคนี้มีนักแสดงและทุนสร้างมากขึ้น,ผีปอบอาละวาดหนักขึ้น โดยที่ชาวบ้านได้แต่สงสัยว่านอกจากปอบหยิบแล้ว ใครเป็นผีปอบที่ออกอาละวาดอีกบ้าง, มุกวิ่งหนีลงตุ่มกลับมาใช้ในภาคนี้
2551บ้านผีปอบ 2008ปอบหยิบปอบหยิบกลับมาอีกครั้ง จากการปลุกขึ้นมาของหมอคล้าย (กลศ อัทธเสรี) สร้างความอลหม่านให้ชาวบ้านไปทั่วในรอบ 14 ปี ภาคนี้นับเป็นภาคที่ 14 ของ Series บ้านผีปอบ,กล้วย เชิญยิ้ม กลับมาแสดงอีกครั้ง, รวิช ไรวินท์ แจ็ค เชิญยิ้ม และ สมเจต พยัฆโส ร่วมแสดงอยู่ในแก๊งค์วิ่งหนีผีปอบด้วย, มี ทีมนักพากย์พันธมิตร มาพากย์ในบางคน
2554บ้านผีปอบ รีฟอร์เมชั่นปอบหยิบ [5]ปอบหยิบอาละวาดอีกครั้งหลังจากตกหน้าผาหายสาบสูญไป 20 ปีก่อน มีการเสริมในเรื่องของเทคโนโลยีทันสมัย มีนักแสดงตลกจากวงการโฆษณากับทีมนักพากย์พันธมิตรมาร่วมกลุ่มวิ่งหนีผีปอบด้วย, กรุ๊ฟโฟร์กลับมาสร้างอีกครั้ง,ได้ สายยนต์ ศรีสวัสดิ์ ผู้กำกับบ้านผีปอบคนแรกมาช่วยควบคุมงานสร้างอีกด้วย, ปอบหยิบไถลสเก็ตบอร์ดอีกครั้ง

การตอบรับ[แก้]

ความนิยม[แก้]

บ้านผีปอบ เป็นภาพยนตร์เกรดบี ในภาคแรกเวลาฉายจะไม่ค่อยได้รอบพิเศษเหมือนภาพยนตร์เกรดเอ จนในภาคสอง มีบางโรงภาพยนตร์ฉายเพิ่มรอบเที่ยงคืน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาคสามและก็ทำเรื่อยมา ซึ่งจากรายได้ที่ฉาย ในกรุงเทพจะได้ไม่มากนัก แต่ในต่างจังหวัดอย่างในภาคอีสานและภาคเหนือหนังประสบความสำเร็จทุกภาค ครั้งหนึ่งขณะถ่ายทำภาค 7 ที่เขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ มีคนมามุงดูการถ่ายทำอยู่มาก และมีคนมาขอลายเซ็นณัฐนี สิทธิสมานเกียรติ กิจเจริญธงชัย ประสงค์สันติ สามดารานำในเรื่อง ทั้งคนไทยและกัมพูชากันแน่นขนัด[3]

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

บ้านผีปอบ มีอิทธิพลต่อภาพยนตร์ในรุ่นหลัง ๆ ที่มักมีสไตล์ที่เลียนแบบหรือล้อเลียนมา อย่างเช่น ในปี 2551 มีภาพยนตร์เรื่องบ้านผีเปิบ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากบ้านผีปอบ แต่มีเนื้อเรื่องและสไตล์ที่ต่างกัน ตามยุคตามสมัย[6] ในปีเดียวกันภาพยนตร์เรื่อง ว้อ ... หมาบ้ามหาสนุก ที่มีภาพลักษณะชาวบ้านวิ่งหนีหมาบ้า คล้ายๆ กับบ้านผีปอบ[7]

หลวงพี่กับผีขนุน

หลวงพี่กับผีขนุน ภาพยนตร์ไทย ออกฉายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 กำกับโดย ดุลยสิทธิ์ นิยมกุล จัดจำหน่ายโดย สหมงคลฟิล์ม ภาพยนตร์ทำรายได้ 20 ล้านบาท[1]

นักแสดง[แก้]

ประวัติ โดเรม่อนน และ ชินจัง คิดตี้

โครงเรื่อง[แก้]

เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของโนบิตะเด็กชายชั้น ป.4 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน, อ่านหนังสือ และไปโรงเรียนสายบ่อย ๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือโดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอมอนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์เด็กที่ดูเป็นอันธพาล แต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลงซูเนโอะผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซุกะผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะน้องสาวของไจแอนท์ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มีโดเรมี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋ามิติที่ 4 และของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย และคุณพ่อและแม่ของโนบิตะ ซึ่งแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าพ่อ
แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะ และคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเล หรือว่ายุคไดโนเสาร์)

ประวัติและที่มาของโดราเอมอน[แก้]

การ์ตูนโดราเอมอน ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เนื่องจากนักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ ที่จะมาแทนการ์ตูน เจ้าชายจอมเปิ่น[4] แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น[4]
เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น โดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น และได้เปิดตัวในปีเดียวกัน เริ่มตีพิมพ์ในนิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง และนิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 (เดือนมกราคม ค.ศ. 1970)[4]
การ์ตูนโดราเอมอน ลงตีพิมพ์พร้อมกันในนิตยสาร 6 ฉบับคือ นิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง, นิตรยสารโชงะกุอิชิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1), นิตรยสารโชงะกุนิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 2), นิตยสารโชงะกุซังเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 3) และนิตยสารโชงะกุโยเน็นเซ โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน[13] โดยเขียนให้เหมาะกับผู้อ่านแต่ละระดับอายุ ซึ่งการ์ตูนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก[4]
และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับ รางวัลเท็ตซึกะ โอซามุ เป็นการ์ตูนดีเด่น[4][13]

รายชื่อตัวละคร[แก้]

ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คน และมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลักดังนี้
โดราเอมอน
โดราเอม่อน ทุกคนต่างเรียกกันว่า โดเรม่อน โดราม่อน โดราจัง หุ่นยนต์แมวจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมาก เพราะเคยโดนหนูแทะหู จนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิ เนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะโดราเอมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดราเอมอนจึงชอบเป็นพิเศษ จะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า "แรคคูน" หรือ "ทานุกิ" (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ฉันทนา ธาราจันทร์[14])
โนบิตะ (โนบิ โนบิตะ)
เด็กชายที่ไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียน กีฬา นิสัยขี้เกียจ และชอบนอนกลางวัน สอบก็ได้ 0 คะแนนทุกครั้ง แต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้าย และเป็นคนมีน้ำใจ ชอบชิซุกะมานาน และมักถูกไจแอนท์กับซึเนะโอะแกล้งประจำ แต่ก็เปลี่ยนเป็นคนละคนเมื่อโดราเอมอนไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว จะมีอารมณ์ไม่พอใจเมื่อเดคิสุงิอยู่ใกล้กับซิซุกะ เพราะคิดว่าซิซุกะแอบชอบเดคิสุงิ แต่ถึงอย่างไรตอนอนาคตก็ได้แต่งงานกับโนบิตะอยู่ดี
ชิซุกะ (มินาโมโตะ ชิซุกะ)
เด็กสาวน้ำใจดี เป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมากและชอบเล่นเปียโน เป็นเด็กสาวที่โนบิตะแอบชอบ และชอบกินสปาเก็ตตี้และมันเผาเป็นพิเศษ อนาคตเธอก็ได้แต่งงานกับโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ศรีอาภา เรือนนาค[15])
ซึเนโอะ (โฮเนคาวะ ซึเนะโอะ)
เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดี และเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ ชอบพูดยกยอ และขี้ประจบ ชอบเอาของมาอวดให้พวกๆอิจฉาแต่ก็พร้อมที่จะเจออันตรายกับพวกเพื่อนๆได้ในตอนที่เป็นภาพยนตร์ มักจะวางแผนกับไจแอนท์เพื่อแกล้งโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส[16])
ไจแอนท์ (โกดะ ทาเคชิ)
เด็กอ้วน หัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำ แต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ (อยากขอร้องให้ช่วย) ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหน แต่บางครั้งเสียงไม่เอาไหนของเขาก็ช่วยทำให้สถานการณ์ที่คับขันให้คลี่คลายได้ เพราะคงไม่มีใครคนไหนที่สามารถทนเสียงของเขาได้ และเป็นคนที่รักเพื่อนพ้องมาก (พากย์เสียงภาษาไทยโดย นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์[17])
โดเรมี
หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เป็นน้องสาวของโดราเอมอนสวยน่ารัก แต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดราเอมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น จะปรากฏตัวเมื่อโดราเอมอนเรียกขอความช่วยเหลือ หรือ สถานการณ์ที่โดราเอมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดราเอมอนไม่อยู่ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส)

สื่อโดราเอมอน[แก้]

ดูบทความหลักที่: รายชื่อสื่อโดราเอมอน

ฉบับมังงะ[แก้]

ฉบับการ์ตูนทีวี (อะนิเมะ)[แก้]

สัญลักษณ์ของโดราเอมอน
ดูบทความหลักที่: โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีเป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดสัญชาติญี่ปุ่น (อะนิเมะ) โดยสร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มในปี พ.ศ. 2516โดยนิปปอนเทเลวิชัน[18][19] และต่อมาปี พ.ศ. 2522 ทีวีอาซาฮี นำมาออกอากาศต่อ[20] สำหรับในประเทศไทยเริ่มออกกาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. จากนั้นก็ได้มีการนำมาออกอากาศเป็นระยะๆ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ฉบับภาพยนตร์ และโดราเอมอนตอนพิเศษ[แก้]

ดูบทความหลักที่: โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์
โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็นอะนิเมะตอนพิเศษ ซึ่งมีการจัดทำขึ้นเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และหนังสือการ์ตูน โดยเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นปีแรกที่มีการสร้างฉบับภาพยนตร์ชื่อตอนว่า ตะลุยแดนไดโนเสาร์[21] และมีการสร้างตอนพิเศษเรื่อยมาทุกปี[22] ทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2548 เป็นปีครบรอบ 25 ปีของการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ออกมาเป็นตอนพิเศษอีกด้วย โดยมีวีซีดีออกมาครบแล้ว 30 แผ่น 30 ตอน และมีการนำตอนเก่ามาสร้างใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา และยังมีตอนที่ไม่ได้มาจากหนังสือการ์ตูน เรียงตามการออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่น
ลำดับชื่อเรื่องภาษาไทยปีที่ออกฉายฉากสำคัญของเรื่อง / หมายเหตุ
ออริจินอลซีรีส์
1ผจญภัยไดโนเสาร์ค.ศ. 1980ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส
2บุกพิภพอวกาศค.ศ. 1981ใต้เสื่อของห้องโนบิตะเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างมิติ
3ตะลุยแดนมหัศจรรย์ค.ศ. 1982อาณาจักรสุนัขในดินแดนลึกลับแอฟริกากลาง
4ผจญภัยใต้สมุทรค.ศ. 1983ผจญภัยใต้มหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า
5ท่องแดนเวทมนตร์ค.ศ. 1984โลกเวทมนตร์ที่เกิดจากของวิเศษ
6สงครามอวกาศค.ศ. 1985การผจญภัยในอวกาศเพื่อช่วยประธานาธิบดีวัยเยาว์
7สงครามหุ่นเหล็กค.ศ. 1986การผจญภัยกับหุ่นยนต์ยักษ์ในโลกกระจก
8เผชิญอัศวินไดโนเสาร์ค.ศ. 1987โลกใต้พิภพที่ไดโนเสาร์ที่พัฒนาแล้วอาศัยอยู่
9ท่องแดนเทพนิยายไซอิ๋วค.ศ. 1988ภาพยนตร์ชุดนี้ไม่ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูน ใช้โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางไว้
10ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณค.ศ. 1989ประเทศญี่ปุ่นที่มนุษย์โบราณชาวจีนอาศัยอยู่เมื่อ 7 หมื่นปีก่อน[4]
11ตะลุยดาวต่างมิติค.ศ. 1990ดาวสัตว์ที่เชื่อมต่อกับโลกด้วยหมอกสีชมพู
12ตะลุยแดนอาหรับราตรีค.ศ. 1991การผจญภัยในดินแดนอาหรับราตรี
13บุกอาณาจักรเมฆค.ศ. 1992โลกของมนุษย์และสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วบนก้อนเมฆ
14ฝ่าแดนเขาวงกตค.ศ. 1993โลกที่หุ่นยนต์ควบคุมมนุษย์
15สามอัศวินในจินตนาการค.ศ. 1994การผจญภัยในโลกของความฝัน
16บันทึกการสร้างโลกค.ศ. 1995มนุษย์แมลงที่กำเนิดขึ้นในโลกของโนบิตะที่สร้างจากชุดสร้างโลก
17ผจญภัยสายกาแล็คซี่ค.ศ. 1996การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ในอวกาศด้วยรถไฟอวกาศปริศนา
18ตะลุยเมืองตุ๊กตาไขลานค.ศ. 1997เมืองของเล่นมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์น้อย
19ผจญภัยเกาะมหาสมบัติค.ศ. 1998ผจญภัยหาสมบัติในหมู่เกาะทะเลใต้ยุคศตวรรษที่ 17[4]
20ตะลุยอวกาศค.ศ. 1999การตะลุยอวกาศเพื่อตามไจแอนท์และซึเนะโอะกลับโลก[4]
21ตำนานสุริยกษัตริย์ค.ศ. 2000ดินแดนยุคอารยธรรมมายา
22อัศวินแดนวิหคค.ศ. 2001การผจญภัยในดินแดนวิหค เบิร์ดโธเปีย
23ตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์ค.ศ. 2002การช่วยเหลือหุ่นยนต์จากต่างดาว
24ผจญภัยดินแดนแห่งสายลมค.ศ. 2003ไข่ลูกพายุไต้ฝุ่นและดินแดนแห่งสายลม
25ท่องอาณาจักรโฮ่งเหมียวค.ศ. 2004ดินแดนแห่งหมาและแมวที่โนบิตะได้พัฒนาพวกเขาขึ้นมา
นิวเจเนอเรชัน
26ไดโนเสาร์ของโนบิตะค.ศ. 2006นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ผจญภัยไดโนเสาร์
27ตะลุยแดนปีศาจกับ 7 ผู้วิเศษค.ศ. 2007นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ท่องแดนเวทมนตร์
28ตำนานยักษ์พฤกษาค.ศ. 2008โลกแห่งต้นไม้และป่าไม้
29โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศค.ศ. 2009นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ
30สงครามเงือกใต้สมุทรค.ศ. 2010การผจญภัยในโลกใต้ทะเล
31ผจญกองทัพมนุษย์เหล็กค.ศ. 2011นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง สงครามหุ่นเหล็ก
32ผจญภัยในเกาะมหัศจรรย์ค.ศ. 2012เกาะที่มีสัตว์หายากและสัตว์สูญพันธุ์อาศัยบนเกาะ
33ล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษค.ศ. 2013พิพิธภัณฑ์ของวิเศษในโลกอนาคต
34บุกดินแดนมหัศจรรย์ เปโกะกับห้าสหายนักสำรวจค.ศ. 2014นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ตะลุยแดนมหัศจรรย์
SPECIALสแตนด์บายมี โดราเอมอน เพื่อนกันตลอดไปภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์ในรูปแบบสามมิติครั้งแรกของโดราเอมอน
35ผู้กล้าแห่งอวกาศค.ศ. 2015หลงเข้าไปในอวกาศของจริงจากการเล่นเป็นฮีโร่อวกาศ
36กำเนิดประเทศญี่ปุ่นค.ศ. 2016นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ
นอกจากโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ที่มีการฉายทุกปีแล้ว ยังมีภาพยนตร์การ์ตูนตอนพิเศษดังนี้ รวมโดราเอมอน ตอนพิเศษ ของ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ทั้ง 8 ชุด

เพลงประกอบ[แก้]

ดูบทความหลักที่ เพลงประกอบ
เพลงเปิดของโดราเอมอน คือเพลง "โดราเอมอนโนะอุตะ" (ญี่ปุ่นドラえもんのうた Doraemon no uta เพลงของโดราเอมอน ?) ซึ่งใช้เป็นเพลงเปิดทั้งของฉบับการ์ตูนโทรทัศน์และฉบับภาพยนตร์บางตอนในช่วงปี พ.ศ. 2522-2548 โดยมีผู้ขับร้องหลายคนในช่วงเวลาแตกต่างกัน ในขณะที่เพลงปิดนั้นมีทั้งหมด 11 เพลง

โดราเอมอนกับประเทศไทย[แก้]

หนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ที่มีการตีพิมพ์ในไทย ชุดพิเศษ เล่ม 7
ด้านหลังแฮนด์บิลภาพยนตร์โดเรม่อน ตอนผจญไดโนเสาร์
การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปี พ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมาสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกัน แต่เลือกใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่าย จากเดือนละเล่มในช่วงต้น ก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่ม จนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์ และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของฟุจิโกะ ฟุจิโอะที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี
หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เห็นความนิยมของโดราเอมอน จึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง" ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ
สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือสยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบัน และใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดรามอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจากประเทศฮ่องกงมาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ[23]
ในปีพ.ศ. 2525 ทางไชโยภาพยนตร์ได้มีการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกัน คือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ และโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทางช่อง 9 ก็ได้มีการออกอากาศโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน ในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2525)[24] ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย (นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา[25] ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้นก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะ และฉายตอนใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี
นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันดีถึงประเทศนี้แล้ว จนถึงกับมีการทำเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นไทย โดยฝีมือคนไทย ทางบริษัทไร้ท์ บิยอนด์ทำการ์ตูนไทยโดราเอมอน ชุด "นิทานของโนบิตะ" โดราเอมอนชอบโดรายากิ ส่วนโนบิตะชอบเรียน ชอบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และชอบอ่านนิทานสนุกสนาน ซึ่งออกจำหน่ายในรุปแบบ วีซีดีและดีวีดี

ของวิเศษ[แก้]

ของวิเศษของโดราเอมอน (ญี่ปุ่นドラえもんの道具一覧 Doraemon no dōgu ichiran ?) เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่โดราเอมอน หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋ามิติที่ 4 ที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง
ศาตราจารย์ยาสึยูกิ โยโกยามะ แห่งมหาวิทยาลัยโทยามะ ได้ทำการวิจัยผลงานเรื่องโดราเอมอน และเปิดเผยว่าของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋ามิติที่สี่ มีทั้งหมด 1,963 ชิ้น ในขณะที่เว็บไซต์ Doraemon FanClub บันทึกจำนวนของวิเศษเอาไว้ทั้งหมด 1,812 ชิ้น

ความนิยมและส่วนเกี่ยวข้อง[แก้]

โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแม้ว่าเรื่องนี้จะจบลงไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ โดยมีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ [26]
เคยมีการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาว่าสาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากนั้น เป็นเพราะตัวละครโนบิตะ มีลักษณะเป็นคนอ่อนแอ ขี้แพ้ ทำอะไรก็มักไม่ค่อยสำเร็จ หากมีเรื่องที่ถนัดอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สังคมไม่ให้ความสำคัญหรือการยกย่อง เช่น เล่นพันด้าย หรือยิงปืนแม่น และเนื่องจากลักษณะนี้เองทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความรู้สึก "มีส่วนร่วม" และเปิดใจให้ตัวละครอย่างโนบิตะเข้ามาในจิตใจได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ล้วนรู้สึกว่าตนเองคือผู้แพ้ คือผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก ไร้ความสามารถ หน้าตาไม่ดี ไม่มีความสามารถ และย่อมอยากและหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีผู้มาช่วยเหลือเรื่องต่างๆให้แก่เรา ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือโดราเอมอนนั่นเอง [27]
โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อน เสมอๆ เป็นบทบาทของ "แม่ผู้ใจดี" ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท "แม่ใจร้าย" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่นการอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี[27]
นอกจากนี้ โดราเอมอนยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรม ดังนี้
รถไฟที่ตกแต่งด้วยตัวละครโดราเอมอน
  • หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้มากกว่า 75,000,000 เล่ม[28]
  • ประเทศแรกที่ฉายโดราเอมอนต่อจากญี่ปุ่น คือฮ่องกง ใน พ.ศ. 2524[29]
  • หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีหลายภาษาด้วยกัน ไม่ต่ำกว่า 9 ภาษาทั่วโลก ตีพิมพ์ในประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ สเปน จีน เวียดนาม
  • ประเทศเวียดนามนิยมการ์ตูนโดราเอมอนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาโดราเอมอน เริ่มตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2536 แบบไม่ถูกลิขสิทธิ์ และใน พ.ศ. 2541 จึงมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา
  • พ.ศ. 2525 หนึ่งในผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ได้เดินทางมาประชาสัมพันธ์โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ให้กับทางไชโยภาพยนตร์ และออกรายการ "อาทิตย์ยิ้ม" ของดำรง พุฒตาล ทางช่อง 9
  • พ.ศ. 2531 โดราเอมอนได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบัลลูนขนาดยักษ์ชื่อ "โดราบารุคุง" (ドラバルくん) โดยปล่อยให้ลอยอยู่บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานาน 12 ปี และจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้มีการสร้างบัลลูนลูกใหม่ขึ้นมาในชื่อว่า "โดราเน็ตสึคิคิว นิโกคิ" (ドラ熱気球2号機)[30]
  • พ.ศ. 2535 ในการประกวดแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ได้มีการผลิตรถพลังแสงอาทิตย์ตามตัวละครโดราเอมอนขึ้นมา เรียกว่า "โซราเอมอน" (ソラえもん号)[31]
  • พ.ศ. 2540 ในวันที่ 2 พฤษภาคม สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่น มีสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงิน โดยมีการต่อแถวรอซื้อตั้งแต่เช้า[32]
  • ในประเทศญี่ปุ่น มีรถไฟโดราเอมอนอยู่ด้วย โดยเป็นเส้นทางจากอาโอโมริไปฮาโกดาเตะ ตัวโบกี้มีการตกแต่งด้วยตัวละครจากโดราเอมอนทั้งภายนอกและภายใน และมีโบกี้พิเศษสำหรับแฟนคลับโดราเอมอน โดยมีภาพยนตร์การ์ตูน ของที่ระลึกจัดจำหน่าย รวมไปถึงพนักงานต้อนรับสวมหัวโดราเอมอนซึ่งคอยบริการอยู่บนรถไฟ[33]

โดจินชิ[แก้]

โดราเอมอนถูกนักวาดการ์ตูนคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้แต่งแท้จริงเขียนซ้ำ หรือที่เรียกว่า โดจินชิ ออกมามากมาย โดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาสุเอะ ทาจิมะ[34] ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลาย ๆ แบบที่ถูกเล่าลือตามเมลลูกโซ่มานาน[34][35] งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงานคอมมิกมาร์เก็ต ฤดูร้อน ปี 2548 (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ปีเดียวกัน[34] ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง
แต่เนื่องจากโดจินชิเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมียอดจำหน่ายมากถึง 15,550 เล่ม นับตั้งแต่ที่เริ่มเปิดตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ผู้ถือลิขสิทธิ์โดราเอมอนฉบับรวมเล่มเป็นอย่างมาก เพราะโดจินชิเล่มนี้ไม่ใช่ผลงานอย่างเป็นทางการของ ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตอนจบที่แท้จริงของโดราเอมอน ทำให้ทางสำนักพิมพ์ต้องออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เขียนว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และขอให้หยุดจำหน่ายโดจินชิเล่มนี้ในทันที รวมถึงการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตด้วย[35][36] ซึ่ง ยาสุเอะ ทาจิมะ ก็ได้ออกมากล่าวคำขอโทษและแก้ต่างว่าเธอเพียงแค่เขียนโดจินชิเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างอะนิเมะฉบับจอเงิน (ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006) เท่านั้น ทำให้คดีความทั้งหมดยุติลง

ข่าวลือกับตอนจบของโดราเอมอน[แก้]

การ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน ไม่มีตอนจบ เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน[37] แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ โดราเอมอนและตัวละครเสริมอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีแค่โนบิตะเพียงคนเดียว ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ในโรงพยาบาล และเพื่อนๆยืนอยู่ข้างเตียงของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดไปจากการ์ตูนหลายๆ เรื่องที่ผู้เขียนเคยแต่งมา ซึ่งส่วนใหญ่จะจบลงด้วยดีมาตลอด[38]
ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งคือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิดแบตเตอรี่หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดเรมี น้องสาวของโดราเอมอน โดรามีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ ไทม์แมชชีนนั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วตั้งใจเรียนจนเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก แล้วก็แต่งงานกับชิสึกะและสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิสึกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชื่อโนบิสึเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข[38]
สำหรับความเป็นไปได้ของตอนจบรูปแบบนี้ได้ปรากฏขึ้นใน "โดรามีกับการผจญภัยของโนบิสุเกะ" ซึ่งเรื่องราวกล่าวถึงโดราเอมอนที่ได้รับการซ่อมแซมจากโนบิตะ ผ่านทางการทักทายของซิซูกะและโดรามี หลังจากที่ทั้งสองไม่ได้เจอหน้ากันมาร่วม 10 ปี โดยบทสนทนานั้นได้มีการพูดถึงโดราเอมอนที่ซ่อมแซมโดยโนบิตะและกลับไปยังยุคของเซวาชิ และในฉากที่โนบิตะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์เครื่องติดตามตัวลงในตัวมินิโดราสีแดงซึ่งเป็นผลจากการซ่อมแซมโดราเอมอน ทำให้โนบิตะเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตตนเองในที่สุด
อย่างไรก็ดี โดราเอมอนตอนจบทุกแบบก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนเพียงพอว่าเป็นตอนจบที่แท้จริง และอันที่จริงแล้วโดราเอมอนนั้นเคยจบไปแล้วครั้งหนึ่งในตอนสุดท้ายของรวมเล่มฉบับที่ 6 ชื่อตอนว่า "ลาก่อนโดราเอมอน" แต่เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการจากทั้งแฟน ๆ และทางสำนักพิมพ์ ในที่สุด ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ จึงได้กลับมาเขียนโดราเอมอนต่ออีกครั้ง [4]


ที่มาของชื่อเรื่อง[แก้]

อ.โยะชิโตะ อุซุอิได้นั่งกลัดกลุ้มกับผู้ดูแลการทำงานของอาจารย์ ว่าจะให้เรื่องนี้ชื่อว่าอะไร แล้วจะให้เนื่อเรื่องเกี่ยวกับเด็กอนุบาลหรือจะให้เกี่ยวกับโรงเรียนอนุบาล จู่ๆผู้ดูแลก็คิดคำว่า"เครยอนชินจัง"ขึ้นมาได้ อาจารย์ชอบชื่อนี้มากจึงนำมาใส่เป็นชื่อเรื่องทันที แล้วก็ให้เนื่อเรื่องเกี่ยวกับเด็กอนุบาลที่ชื่อว่า"โนะฮาร่า ชินโนะซึเกะ"

เนื้อเรื่อง[แก้]

เนื้อเรื่องเกี่ยวกับธนพัฒน์ เลขไวฑูรย์ (โนะฮาร่า ชินโนซึเกะ; Nohara Shinnosuke) เด็กอนุบาลวัย 5 ขวบ มีนิสัยคล้ายคลึงกับพ่อ (ฮิโรชิ) เช่น ชอบผู้หญิงหุ่นดีหน้าตาดี . แม่ของชินจัง (มิซาเอะ) มีนิสัยขี้เหนียว แต่โมโหง่ายและน่ากลัวเอิร์ธ.มีน้องสาวหนึ่งคนชื่อบีด. ครอบครัวของชินจังเลี้ยงหมาหนึ่งตัว ชื่อเจ้าขาว (ชิโร่). เพื่อน ๆ ของชินจังที่พบในเรื่องบ่อย ๆ คือ คาซาม่าคุง, เนเน่จัง, มาซาโอะคุง, และ โบจัง ชินจังมักมีท่าแปลก ๆ เช่น ท่ามนุษย์ต่างดาวนู้ดครึ่งก้น ท่าที่เอากางเกงในมาครอบหัว โดยทำเหมือนกับว่ามันเป็นหน้ากาก ชินจังชอบดูการ์ตูนหน้ากากแอ็คชั่นและกันตั้ม เป็นคนที่ชื่นชอบ และชื่นชมในตัวหน้ากากแอ็คชั่นมาก มีขนมโปรดคือ ช็อกโกบิ้ การละเล่นของชินจังที่โรงเรียนคือ เล่นเป็นยุง เล่นเป็นอึ เล่นซ่อนแอบแบบไม่มีคนหา(ส่วนใหญ่แล้วจะเล่นกับโบจัง) เล่นแกล้งตายบนหิมะ เล่นพ่อ แม่ ลูก (เมื่อถูกเนเน่จังบังคับ)

ตัวละคร[แก้]

ตัวละครหลัก[แก้]

ครอบครัวโนะฮาร่า[แก้]

  • โนะฮาร่า ชินโนสุเกะ (อายุ 5 ปี) ตัวละครเอกของเรื่อง มีนิสัยเจ้าชู้ กะล่อน ชอบดูหนังAVชื่นชอบสาวสวยหุ่นดีคล้ายฮิโรชิ ชอบเข้าบ้านคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หาเรื่องป่วนได้ทุกเวลา กระนั้นก็ยังพูดจาฉะฉาน ใช้คำพูดเกินเด็ก แทงใจดำคน อึ ฉี่ ไม่เป็นที่เป็นทาง ปากอ่อน อ่านใจคนเก่งมาก(ดังพบเห็นได้จากการไปห้างสรรพสินค้า ที่มักจะรู้เล่ห์กลของพนักงานขาย) ชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน ชอบทำให้คนอื่นเข้าใจผิดจากการฟังผิด ๆถูก ๆ แต่แท้จริงแล้วเป็นคนที่รักครอบครัวและคนรอบข้างอยู่ ที่สำคัญกว่านั้นสิ่งที่ไม่มีใครพูดถึง คือ ความมีน้ำใจของชินจัง มีความเฉลียวฉลาด กล้าหาญ คิดดีทำดี และสุดท้ายเป็นคนเห็นอกเห็นใจผู้อื่นแถมยังชอบช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนด้วย(ไม่เคยมีใครพูดถึงแต่เป็นเรื่องจริง) แอบชอบนานาโกะ ความสามารถพิเศษของชินจังคือ มีปฏิกิริยาตอบโต้กับสาวสวยรวดเร็ว ลอกเลียนแบบเก่ง ทำเครื่องแต่งกายเก่ง และเต้นเก่ง ของโปรดของชินจังคือ ช็อกโกบี และพริกหยวก คือของที่ชินจังไม่โปรดปรานและไม่อยากกิน แต่จะกินได้บางครั้ง(เมื่อถูกมิซาเอะบังคับให้กิน)
    • โนะฮาร่า ฮิมาวาริ (วัยคลาน) น้องสาวของชินโนซึเกะ ซนมาก มีนิสัยคล้ายมิซาเอะ ชื่นชอบเครื่องประดับและดาราหนุ่มหล่อ โดยคำว่า ฮิมาวาริ มาจากชื่อห้องเรียนที่ชินโนซึเกะเรียนอยู่ (ฮิมาวาริ แปลว่า ดอกทานตะวัน)
    • โนะฮาร่า มิซาเอะ (อายุ 29 ปี) แม่ของชินโนซึเกะ ชอบใส่กางเกงในสีใส ฉูดฉาด ขนหน้าแข้งดก ท้องลาย พละกำลังเยอะ ก้นเบอะ ทำให้ถูกชินโนะซึเกะนำไปล้อเสมอ นอกจากนั้นยังมีเรื่องอับอายขายหน้าเพื่อนบ้านจากการเล่นกับชินจังอยู่บ่อย ๆ ในการลงโทษชินโนะซึเกะนั้นมีทั้งเบาและหนักเช่น เขกหัว ปั่นหัว (หรือปั่นนรก) หยิกแก้ม หยิกหู แต่ที่หนักที่หนักที่สุดคือ ตีก้น10ทีรวด
    • โนะฮาร่า ฮิโรชิ (อายุ 35 ปี) พ่อของชินโนซึเกะ มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท ชอบกินเบียร์(ประมาณว่าขาดสักวันจะลงแดง)เลี้ยงดูชินโนซึเกะแบบเพื่อน บางครั้งถูกชินโนะซึเกะแกล้งหรือเข้าใจผิดว่านอกใจมิซาเอะหลายตอน
    • เจ้าขาว (ชีโร่) สุนัข(น่าจะเป็นพันธุ์พุดเดิล แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดไว้)ที่ถูกทิ้ง ซึ่งชินจังนำมาเลี้ยง แต่มักจะไม่ได้รับการเอาใจใส่จากชินจังเท่าที่ควร เช่น ลืมให้อาหาร ไม่พาไปเดินเล่น(จะทำก็ต่อเมื่อมิซาเอะสั่ง แต่ก็เคยแอบหนีอีกเหมีอนกัน) มีนิสัยชอบเก๊กหล่อเมื่อสุนัขตัวเมียเดินผ่าน มีอยู่ตอนหนึ่ง มิซาเอะขายเจ้าขาวไปแต่ก็มาอยู่กันอีกครั้ง แม่ชื่อบอร์ช มีพี่น้องรวมเจ้าขาวด้วยเป็น 4 ตัว มีแฟนชื่อเมงุจัง

เพื่อนชินจัง[แก้]

  • ซากุราดะ เนเน่ มีชื่อเล่นว่า เนเน่จัง เป็นเด็กสาวในกลุ่มของชินโนซึเกะ มีนิสัยขี้โมโห ชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน(โดยเฉพาะครูที่โรงเรียน) แต่ซ่อนไว้โดยการทำนิสัยน่ารัก ชอบเล่นพ่อแม่ลูกเป็นชีวิตจิตใจและบังคับให้คนอื่นเล่นด้วย เนเน่จังจะต่อยตุ๊กตากระต่ายตัวเล็กที่ติดตัวไว้ใต้ชุดกระโปรงเป็นการระบายอารมณ์ ซึ่งเลียนแบบมาจากคุณแม่ของเนเน่จังนั่นเอง
  • คาซาม่า โทโอรุ มีชื่อเล่นว่า คาซาม่าคุง เป็นเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ยุ่งอยู่กับธุรกิจ จึงต้องอยู่ที่แมนชั่น เพื่อให้ สะดวกต่อการย้ายบ้าน จึงทำให้คาซาม่าคุง มีนิสัยขี้โอ่ ชอบอวดร่ำอวดรวยในบางครั้ง และยังติดแม่มาก แต่เป็นเด็กเรียนดีของห้อง เพราะเรียนพิเศษ (บางครั้งก็ไม่อยากเรียน) มักถูกชินโนซึเกะแซวเล่นและคอยปั่นป่วนตลอดเวลา เลยทำให้ไม่กล้าเปิดเผยความชอบส่วนตัวสักเท่าไหร่ (เช่นชอบการ์ตูนสาวน้อยเวทมนตร์ โมเอะ-P) เกรงจะถูกชินโนซึเกะเอาไปล้อ จริง ๆ แล้วเป็นเพื่อนที่สนิทกับชินจังมาก ชอบแต่งคอสเพลย์เนตัวละครหญิง ในปี2010อยู่มหาวิทยาลัยโตเกียว
  • ซาโต้ มาซาโอะ มีชื่อเล่นว่า มาซาโอะคุง เป็นเด็กผมโล้น มีนิสัยขี้ระแวง ขี้แย อ่อนแอ ถูกหลอกง่ายจึงมักถูกเพื่อน ๆลากไปสร้างวีรกรรมเสมอ ๆ (โดยเฉพาะเนเน่จัง)แต่บางครั้งก็ดูเข้มแข็งขึ้น(จะเห็นได้ชัดจากฉบับการ์ตูนภาพยนตร์) มักถูกเด็กประถมรังแกบ่อยครั้ง มีฉายาว่า หัวข้าวปั้น หลงรักไอย์จังอย่างโงหัวไม่ขึ้นตั้งแต่ไอย์จังมาอยู่โรงเรียนนี้ ถึงแม้ว่าเจ้าตัวจะหลงรักชินโนะซิเกะก็ตาม
  • โบ เป็นเด็กที่พูดน้อยและตัวสูงที่สุดในกลุ่ม ลักษณะเด่นคือ มีน้ำมูกไหลย้อยตลอดเวลาและพูดแค่คำว่า "โบ" มีความลับอยู่ในเรื่องครอบครัว เพราะไม่ปรากฏพ่อโบจังเลย (มีตอนที่กลุ่มชินจังพยายามตามสืบหาพ่อแม่ของโบจัง แต่พบแม่โบจังไม่ชัดเจน) มีความเก่งด้านศิลปะเชิงนามธรรม ได่รับรางวัลประกวดวาดภาพหลายครั้ง เช่น หัวใจของอีกา ชอบสะสมหินรูปร่างแปลก ๆ
  • ซึโอโตเมะ ไอย์ มีชื่อเล่นว่า ไอย์จัง เป็นคุณหนูลูกเศรษฐี เป็นทั้งเพื่อนและคู่กัดของเนเน่จัง ปรากฏตัวในหนังสือการ์ตูนเล่มที่ 16 มักจะชอบพูดจาเกี่ยวกับเรื่องฐานะ ซึ่งทำให้มีปัญหากับเนเน่จังอยู่บ่อยครั้ง หลงรักชินโนะซึเกะมาก แต่เจ้าตัวไม่สนใจ มีความสามารถพิเศษในการจัดงานต่าง ๆ (โดยใช้บอดี้การ์ด) และทำให้เด็กผู้ชายคนอื่น ๆตกหลุมรักได้

ตัวละครรอง[แก้]

  • ซากุระดะ โมเอโกะ คุณแม่ของเนเน่จัง มักไม่พอใจที่ชินโนซึเกะทำลายความสงบสุขในชีวิตของตนและครอบครัว มักระบายอารมณ์โดยการต่อยตุ๊กตากระต่าย จนติดเป็นนิสัยและทำให้เนเน่จังเลียนแบบโมเอโกะในที่สุด
  • โอฮาร่า นานาโกะ ชินโนซึเกะมักเรียกเธอว่า พี่นานาโกะ เป็นเพื่อนบ้านของชินโนะซึเกะ อยู่แมนชั่นชื่อว่า"กิ้งก่าแมนชั่น" มีคุณพ่อเป็นนักเขียนนิยายชื่อดัง(ซีรีส์สดใส) ซึ่งหวงลูกสาวมาก ไปไหนต้องตามไปด้วย นานาโกะเป็นคนที่น่ารัก และเป็นคนที่ชินโนะซึเกะแอบชอบด้วย มีความฝันอยากเป็นครูโรงเรียนอนุบาล
  • หน้ากากแอ็คชั่น ฮีโร่ในดวงใจของชินโนซึเกะ เป็นซุปเปอร์ฮีโร่ซึ่งปรากฏตัวทางโทรทัศน์ มีชื่อในร่างมนุษย์คือโก โกทาโร่ (郷 剛太郎) ซึ่งเป็นสตั๊นท์แมนภาพยนตร์ และหน้ากากแอ็คชั่นนี้ยังถือเป็นตัวละครการ์ตูนคนสำคัญของชินจัง ทั้งนี้ หน้ากากแอ็คชั่นคือบุรุษผู้สวมหน้ากากที่ใช้วิชาพิเศษผสานคาราเต้ในการต่อสู้กับเหล่าร้าย เพื่อปกป้องโลก และเป็นหนึ่งในตัวละครที่ปรากฏตัวในชินจังเดอะมูฟวี่อยู่หลายภาค ครั้งแรกเขาได้ปรากฏตัวในชินจังจอมแก่นเดอะมูฟวี่ตอนCrayon Shin-chan: Action Kamen vs Leotard Devil (ญี่ปุ่น: クレヨンしんちゃん アクション仮面VSハイグレ魔王) ในเนื้อเรื่องนี้หน้ากากแอ็คชั่นได้ปรากฏตัวต่อหน้าชินจังและปราบเหล่าร้ายร่วมกัน
  • ซากุระ มิมิโกะ เป็นนางเอกที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องหน้ากากแอ็คชั่น
  • ครูโยชินาง่า มิโดริ (อิชิซากะ มิโดริ) ครูประจำชั้นห้องฮิมาวาริ มักเหนื่อยหน่ายใจกับพฤติกรรมของชินโนซึเกะ แต่ภูมิใจที่ได้สอนเด็ก ๆจอมซนพวกนี้ ภายหลังได้แต่งงานกับ อิชิซากะ จุนอิจิ โดยมีพ่อสื่อแม่สื่อคือกลุ่มของชินโนซึเกะ แต่งงานที่โรงเรียนอนุบาล ท่ามกลางสายฝน ปัจจุบันมีลูกสาว ชื่อ โมโมะ (ซึ่งคนทำคลอดคือ ชินจัง กับ เจ๊ลำไย)
  • ครูมัตสึซากะ อุเมะ ครูประจำชั้นห้องกุหลาบ มาจากโกะคิบะระ มีลักษณะคล้ายสาวสวยไฮโซ ด่าเก่ง ปากจัด ขี้โอ่ นิสัยแย่มาก และชอบต่อล้อต่อเถียงกับโยชินนาง่า บ่อยครั้ง มีจุดอ่อนเรื่องหาแฟนไม่ได้ (แม้ว่าจะมีคนรักอยู่แล้วก็ตาม) และเรื่องการเป็นสาวโสด กำลังคอยหาดูใจกับหมอเกียวดะ (โทคุโร่) ซึ่งเป็นหมอกระดูกที่เคยดูแลเรื่องกระดูกหักของครูมัตสึซากะในตอนที่ขณะขาหักเข้าโรงพยาบาล ซึ่งเวลาเดียวกันชินจังก็เข้าโรงพยาบาลนี้ เพราะ เกิดอุบัติเหตุเช่นกัน
  • ครูอาเงโอะ มาซึมิ ครูผู้มี2บุคลิก โดยเมื่อใส่แว่นจะมีท่าทางสงบเสงี่ยม เรียบร้อยและไม่กล้าแสดงออก แต่เมื่อถอดแว่นออกจะเปลี่ยนเป็นคนละคน เก่งทางด้านคอมพิวเตอร์ แอบทำเว็บไดอารี่เป็นของตนเองแต่กลุ้มใจที่ไม่มีใครเข้ามาดูเลยสักคนเนื่องจากไม่กล้าบอกว่าตนเองมีเว็บไซต์ ปัจจุบันมีแววจะคบกับคุโรอิโสะ บอดี้การ์ดของไอย์จังนั่นเอง
  • ครูใหญ่ ทาคาคูระ บุนตะ ครูใหญ่แห่งโรงเรียนอนุบาลฟุตาบะ มีหน้าตาคล้ายนักเลงยากูซ่าระดับหัวหน้าแก๊งค์ ทำให้ทุกคน(รวมถึงตัวเอง)กลัว แต่จริง ๆแล้วเป็นคนใจดี
  • คุณนาย ทาคาคูระ โฮโบะเค็น ภรรยาของคุณครูใหญ่
  • ฮนดะ เคย์โกะ เป็นเพื่อนสนิทของมิซาเอะ มีสามีอายุน้อยกว่า(ชินจังและมิซาเอะคิดว่าไปหลอกแต่งงาน)ชินจังมักจะนำเรื่องนี้ไปเล่าเพื่อนบ้านของน้าเคย์โกะ ให้อับอายเป็นประจำ มีลูกชาย 1 คนชื่อ ฮิโตชิ
  • คันดะโดริ ชิโนบุ ประธานชมรมมวยปล้ำหญิง เพื่อนของนานาโกะ เป็นคนที่ฮำหมัดชอบ แต่ปฏิเสธ เพราะมีความฝันที่ยิ่งใหญ่นั่นคือการเป็นนักมวยปล้ำ
  • คิโยมิ เอส ซื่อเล่นว่า เอสจัง เป็นผู้ประกาศข่าวหญิงทางโทรทัศน์ ที่ชินจังหลงใหล คลั่งใคล้มาก ๆ
  • คุโรอิโซะ เป็นบอดี้การ์ดของไอย์จังและคนขับรถของไอย์จัง จะคอยปกป้องไอย์จังอยู่ตลอดไม่ว่าจะสถานที่ใดก็ตามที่มีไอย์จัง เวลาอยู่ที่โรงเรียนจะอยู่ตามต้นไม้ พุ่มไม้เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนไอย์จัง มักจะโดนไอย์จังขู่ให้ไปที่บ้านของชินจังถ้าไม่ไปจะแฉความลับให้กับพ่อแม่ของไอย์จังฟัง

ตัวละครอื่น ๆ[แก้]

  • โนะฮาร่า กิงโนะสึเกะ พ่อของฮิโรชิ คุณปู่ของชินโนซึเกะ หัวล้านหน้าตาคล้ายชินโนซึเกะ เจ้าชู้ กะล่อน ขี้เล่น(แผลง ๆ) ชอบเด็กเอ๊าะ ๆ ไม่รู้จักแก่ ชอบเล่นแกล้งตายจนทำให้มิซาเอะเกือบช็อก
  • โนะฮาร่า ซึรุ แม่ของของฮิโรชิ คุณย่าของชินโนซึเกะ เป็นคนสนุกสนานเช่นเดียวกับกิงโนะสึเกะ ซึ่งคุณปู่ของชินจังมักอยู่ในอำนาจ เคยเล่นคอยาวจนมิซาเอะช็อก
  • โนะฮาร่า เซมาชิ คุณลุงของชินโนซึเกะ เป็นพี่ชายของฮิโรชิ เป็นชาวนา มีนิสัยขี้เหนียวมาก จนขึ้นคาน
  • โคยาม่า โยชิจิ พ่อของมิซาเอะคุณตาของชินโนซึเกะ อดีตครูใหญ่ มักไม่ถูกชะตากับกิงโนะซึเกะ จึงหาเรื่องทะเลาะได้ทุกครั้งเมื่อเจอกัน(และมักจะเจอกันโดยบังเอิญเสียทุกครั้ง)มีนิสัยเคร่งขรึม ยึดขนบธรรมเนียม ต่างจากปู่ของชินจัง แต่บางครั้ง ก็เป็นคนสนุกสนาน
  • โคยาม่า ฮิซาเอะ แม่ของมิซาเอะคุณยายของชินโนซึเกะ เป็นคนใจดี คอยประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างของโยชิจิกับกิงโนะซึเกะ
  • โคยาม่า มาซาเอะ พี่สาวมิซาเอะคุณป้าของชินโนซึเกะ อดีตคุณครูสอนภาษาญี่ปุ่น นิสัยขี้เล่น ชอบแกล้งมิซาเอะอยู่เสมอ โดยใช้หน้ากาก แต่ก็แพ้ชินจัง ชอบใส่ชุดกิโมโน
  • โคยาม่า มุซาเอะ น้องสาวมิซาเอะคุณน้าของชินโนซึเกะ มีปัญหาทางด้านการเงิน ซึ่งมิซาเอะให้ความช่วยเหลือ จากในหนังสือการ์ตูนตอนหนึ่ง เคยมาอยู่บ้านของชินจังในการ์ตูนเล่มที่ 28 และย้ายออกไปในเล่มที่ 29มีอาชืพเป็นผู้ช่วยตากล้อง
  • คาวามูระ ยาซึโอะ มีฉายาว่า ชีต้า เป็นเด็กห้องกุหลาบ เป็นนักกีฬาประจำห้อง เป็นคู่ปรับของชินโนซึเกะ มักพ่ายแพ้ให้กับความกะล่อนของชินโนซึเกะบ่อยครั้ง
  • ฮิโทชิ เด็กห้องกุหลาบ มีนิสัยแย่ ทำตัวนักเลง ชอบรังแกคนที่อ่อนแอกว่าโดยเฉพาะมาซาโอะคุง
  • เทรุโนบุ เด็กห้องกุหลาบ มีนิสัยแย่พอ ๆกับฮิโทชิ ชอบรังแกมาซาโอะคุง จับคู่รังแกกับฮิโทชิ
  • แก๊งแมงป่องแดงแห่งไซตามะ เป็นแก๊งนักเรียนม. ปลาย 3 คน ชอบบังเอิญแสดงตัวในสวนสาธารณะเวลาที่กลุ่มชินโนซึเกะ กำลังเล่น ทำให้ถูกนึกว่าเป็นตลกคาเฟ่ มีท่าประหลาด ๆประจำแก๊งค์เสมอ (เรียงจากซ้าย (หัวสิว) มารี (เล็บขบ) ริวโกะ (ตาปลา) โอกิง) แต่มักทำตัวเป็นประโยชน์ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร เคยช่วยงานที่โรงเรียนอนุบาล มักจะได้ชินโนะซิเกะช่วยเวลาคับขันเสมอ(และบังอิญทุกครั้ง)
  • มิตจี้และโยชิริงเป็นคู่รักกัน มักจะมีปัญหาให้ครอบครัวโนะฮาร่าอยู่เสมอ
  • บูริบูริซาเอมอน/คุณหมูดุ๊กดิ๊ก ตัวละครในจินตนาการของชินโนะซึเกะ ซึ่งชินโนะซึเกะเคยเขียนการ์ตูนเล่นบ่อยครั้ง
  • หน้ากากแอ็คชั่นเกิร์ล หน้ากากแอ็คชั่นผู้หญิง ที่โก โกทาโร่(หน้ากากแอ็คชั่นร่างคน) เป็นผู้คัดเลือกมาให้มาทำงานร่วมกัน
  • หุ่นยนต์คันตั้ม อะนิเมะหุ่นยนต์ในดวงใจของชินโนซึเกะ
  • สาวน้อยเวทมนตร์ โมเอะ-P อะนิเมะประเภทโชโจ ที่ชินโนซึเกะและคาซาม่าชื่นชอบ
นอกจากนี้ ยังมีตัวละครที่อยู่ในหนังสือการ์ตูนด้วย แต่ตัวละครนี้พบไม่บ่อยนัก(เพราะอะนิเมะสร้างไม่ถึง)
  • สมโง่ กระบือเรียกพี่ เพื่อนอยู่ที่แฟลตรูหนู (ปรากฏตัวครั้งแรกอยู่เล่ม19) นักศึกษายาจก ชอบแอบขอไปกินข้าวบ้านคนอื่นสอบเอ็นฯไม่ติด 3 ครั้ง คร้งที่ 4 ติดเพราะครอบครัวโนะฮาร่าช่วยเหลือ
  • ลิลลี่ โคยูกิ (สมชาย หัวจรดเท้า) กระเทยที่ทำงานอยู่ร้านน้ำชาสาวประเภทสอง
  • ยูจัง (เจนจริต ยู) นักแสดงสาวสวยที่มีฝีมือ แต่ถ้าไม่แต่งหน้าก็จะเป็นแค่สาวจิ้มลิ๊มและไม่มีความมั่นใจ
  • เจ๊ลำไย มีอันจะกิน (โอยะ นูชิโอะ) เจ้าของแฟลตรูหนู ชอบเล่นกับฮิมาวาริ เป็นคนทำคลอดให้กับคุณครูโยชินาง่า( แต่จริง ๆแล้ว เจ๊ลำไยเป็นคนเกลียดเด็ก เพราะเคยเสียสามีและลูกสาวไปเมื่อ 30 ปีก่อน )
  • นายช่างหญ่าย(โอนิงาวาระ จิคุโซ) ช่างก่อสร้าง มักจะทำงานเสร็จช้ากว่ากำหนด เพราะถ้าโมโหขึ้นมา จะไม่ทำงานทันที เช่น แกะน้ำจิ้มถั่วหมักไม่ลงถ้วย เป็นแฟนกับหมออ้อย เป็นคนซ่อมบ้านให้กับครอบครัวโนะฮาร่า ชอบเลียอมยิ้ม
  • หมออ้อย(ฮะคุอิโนะ เท็นโกะ)เป็นพยาบาล เวลาหงุดหงิดจะมาเลียอมยิ้มบนดาดฟ้า
  • คุณฮำหมัด เจ้าชายแห่งประเทศอับกาวิตถาร ชอบชิโนบุ แต่ถูกปฏิเสธ ปัจจุบันแต่งงานแล้ว มีองครักษ์ชื่อฮำเหม็ด
  • คุณนายมอนโร คุณนายฝรั่งสาวสวยบ้านตรงข้าม ขวัญใจของฮิโรชิ ชอบใช้ให้ฮิโรชิไปทำงานที่บ้าน
  • แอ๊บแบ๊ว (เลิศอลัง) ณ ส้นตึก (คุตซึโซโกะ อาซึโกะ) รุ่นน้องของมิซาเอะ คุณแม่วัยกระเตาะ มีลูกสาวชื่อ แอ๊บแหวว (อาสึมิ)
  • ลุงหนูผีเจ้าของแฟรน์ไซน์ไก่ย่างสามบวกสองดาว ชินโนะซึเกะชอบเรียกว่า จารย์โยดา เพราะส่วนสูงและหน้าตาคล้ายกัน
  • โคจิไอ้หนุ่มก่อสร้าง เป็นแฟนของลูกสาวนายช่างหญ่าย ถ้าเข้าใกล้เมื่อไหร่ นายช่างหญ่ายจะโมโหถึงขนาดไม่ทำงาน
  • เซ็นจู เฮย์ฮาจิคุณตาที่มาขอซื้อเจ้าขาวไปเลี้ยง(แต่ก็ให้ชินโนะซึเกะคืนไปอยู่ดี) มีนิสัยใจดี อดีตเป็นนักผจญเพลิงสถิติช่วยชีวิตคน300คน
  • อุริมะ คุริโยะ(เซลเลดี้ จากนรก)เป็นพนักงานขายหนังสือฝึกซ้อมหัดเรียนของเด็กอนุบาลที่พยายามจะขายของให้แม่ของชินจังที่ไม่สำเร็จเพราะถูกแม่ของชินจังเข้าใจผิดว่าเป็นคนร้าย เป็นผู้หญิงที่มีเสียงเหมือนกระเทยทำให้ชินจังชอบเรียกว่า พี่สาวกระเทย
  • มุซาชิโนะ เคนตะเป็นคุณครูสอนเคนโด้ของชินจัง เนื่องจากเห็นชินจังมีทักษะที่จะสามารถเป็นนักเค็นโด้ได้ จึงตามตื๊อจนทำให้ชินจังมาเรียนเคนโด้กับตนเองจนสำเร็จ

รายชื่อตอน[แก้]

เดอะ มูฟวี่[แก้]

ชื่อเรื่อง (อังกฤษ)ชื่อเรื่องญี่ปุ่นกำกับเขียนบทวันที่ออกฉาย
ชินจัง เดอะมูฟวี่ : หน้ากากแอ็คชัน ปะทะ ชุดรัดรูปปีศาจ (Crayon Shin-chan: Action Kamen vs Leotard Devil)クレヨンしんちゃん アクション仮面VSハイグレ魔王มิตซึรุ ฮอนโกมิตซึรุ ฮอนโก24 กรกฎาคม 1993
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 2 : ห้องลับแห่งอาณาจักรบูริบูริ (Crayon Shin-chan: The Secret Treasure of Buri Buri Kingdom)クレヨンしんちゃん ブリブリ王国の秘宝มิตซึรุ ฮอนโกมิตซึรุ ฮอนโก/เคอิจิ ฮาระ23 เมษายน 1994
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 3 : ความใฝ่ฝันของอูนโคคุซาอิ (Crayon Shin-chan: Unkokusai's Ambition)クレヨンしんちゃん 雲黒斎の野望มิตซึรุ ฮอนโกมิตซึรุ ฮอนโก/เคอิจิ ฮาระ15 เมษายน 1995
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 4 : การผจญภัยในแฮนเดอร์แลนด์ (Crayon Shin-chan: Adventure in Henderland)クレヨンしんちゃん ヘンダーランドの大冒険มิตซึรุ ฮอนโกมิตซึรุ ฮอนโก/เคอิจิ ฮาระ13 เมษายน 1996
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 5 : โล้นซ่าสาวแสบ กับลูกแก้วสายรุ้ง (Crayon Shin-chan: Pursuit of the Balls of Darkness)クレヨンしんちゃん 暗黒タマタマ大追跡เคอิจิ ฮาระเคอิจิ ฮาระ19 เมษายน 1997
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 6 : สายฟ้าแลบ กับภารกิจลับ (Crayon Shin-chan: Blitzkrieg! Pig's Hoof's Secret Mission)クレヨンしんちゃん 電撃!ブタのヒヅメ大作戦เคอิจิ ฮาระเคอิจิ ฮาระ18 เมษายน 1998
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 7 : ระเบิดออนเซน การต่อสู่ครั้งใหญ่ (Crayon Shin-chan: Explosion! The Hot Spring's Feel Good Final Battle/Kureshin Paradise! Made in Saitama)クレヨンしんちゃん 爆発!温泉わくわく大決เคอิจิ ฮาระเคอิจิ ฮาระ17 เมษายน 1999
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 8 : ป่าเรียกว่าพายุ (Crayon Shin-chan: The Storm Called The Jungle)クレヨンしんちゃん 嵐を呼ぶジャングルเคอิจิ ฮาระเคอิจิ ฮาระ22 เมษายน 2000
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 9 : บุกถล่มอาณาจักรพวกผู้ใหญ่ (Crayon Shin-chan: The Storm Called: The Adult Empire Strikes Back)クレヨンしんちゃん 嵐を呼ぶ モーレツ!オトナ帝国の逆襲เคอิจิ ฮาระเคอิจิ ฮาระ21 เมษายน 2001
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 10 : ชินจังย้อนเวลาไปยุคสมัยเซนโกกุ (Crayon Shin-chan: The Storm Called: The Battle of the Warring States)クレヨンしんちゃん 嵐を呼ぶ アッパレ!戦国大合戦เคอิจิ ฮาระเคอิจิ ฮาระ20 เมษายน 2002
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 11 : สู้เพื่อเนื้อย่าง และความสงบสุขของโลก (Crayon Shin-chan: The Storm Called: Yakiniku Road of Honor)クレヨンしんちゃん 嵐を呼ぶ 栄光のヤキニクロードมิซูชิมะ ซึโทมุมิซูชิมะ ซึโทมุ/เคอิจิ ฮาระ19 เมษายน 2003
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 12 : หลุดเข้าไปในยุคซันเซ็ตบอย คาสึคาเบะ (Crayon Shin-chan: The Storm Called: The Kasukabe Boys of the Evening Sun)クレヨンしんちゃん 嵐を呼ぶ!夕陽のカスカベボーイズมิซูชิมะ ซึโทมุมิซูชิมะ ซึโทมุ17 เมษายน 2004
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 13 : บูริบูริ ปกป้องโลกเพียงแค่ 3 นาที (Crayon Shin-chan: The Legend Called Buri Buri 3 Minutes Charge)クレヨンしんちゃん 伝説を呼ぶブリブリ 3分ポッキリ大進撃มุโต ยูจิ(ยูจิ มุโต)มุโต ยูจิ(ยูจิ มุโต)/คิมูระ ฮิเดฟูมิ16 เมษายน 2005
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 14 : ปีศาจสาวโคโยตี้ การเต้นอามิโก้ในตำนาน (Crayon Shin-chan: The Legend Called: Dance! Amigo!)クレヨンしんちゃん 伝説を呼ぶ 踊れ!アミーゴ!มุโตยูจิ(ยูจิ มุโต)โมโตะฮิระ เรียว15 เมษายน 2006
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 15 : ระเบิดก้น มนุษย์ต่างดาวพันธุ์ต๊องถล่มโลก (Crayon Shin-chan: The Storm Called: The Singing Buttocks Bomb)クレヨンしんちゃん 嵐を呼ぶ 歌うケツだけ爆弾!มุโตยูจิ(ยูจิ มุโต)ยาสึมิ เท็ตสึโอะ21 เมษายน 2007
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 16 : ศึกอภินิหารดาบทองคำ (Crayon Shin-chan:The Storm Called: The Hero of Golden Sword)クレヨンしんちゃん ちょー嵐を呼ぶ 金矛の勇者มิตสึรุ ฮอนโกมิตสึรุ ฮอนโก19 เมษายน 2008
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 17 : โฮ้กฮ้าก ! อาณาจักรสัตว์ คาสึคาเบะ (Roar! Kasukabe Animal Kingdom Super-Dimension!)クレヨンしんちゃん オタケベ!カスカベ野生王国อากิระ ชิกิโนะอากิระ ชิกิโนะ18 เมษายน 2009
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 18 : ข้ามเวลามาป่วนโลก (Crayon Shin-chan: The Storm Called My Bride)クレヨンしんちゃん 超時空!嵐を呼ぶオラの花嫁อากิระ ชิกิโนะมิจิโกะ โยโกเตะ17 เมษายน 2010
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 19 : สายลับชินจัง คำสั่งลับของหน้ากากแอ็คชัน (Crayon Shin-chan: The Storm Called: Operation Golden Spy)クレヨンしんちゃん 嵐を呼ぶ黄金のスパイ大作戦16 เมษายน 2011
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 20 : เจ้าหญิงฮิมาวาริ และการปกป้องจักรวาล (Crayon Shin-chan: Arashi o Yobu! Ora to Uchū no Princess)クレヨンしんちゃん 嵐を呼ぶ!オラと宇宙のプリンセス14 เมษายน 2012
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 21 : อร่อยสุดยอด ! อาหารเกรด B เพื่อความอยู่รอด (Crayon Shin-chan: Very Tasty! B-class Gourmet Survival!!)クレヨンしんちゃん バカうまっ!B級グルメサバイバル!!มาซากาซึ ฮาชิโมโตะมาซากาซึ ฮาชิโมโตะ20 เมษายน 2013
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 22 : ศึกยอดคุณพ่อโรบอต (Crayon Shin-chan: Serious Battle! Robot Dad Strikes Back)クレヨンしんちゃん ガチンコ!逆襲のロボとーちゃんวาตารุ ทาคาฮาชิคาซึกิ นากาจิม่า19 เมษายน 2014
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 23 : ผจญภัยต่างแดนกับสงครามกระบองเพชรยักษ์ (Eiga Crayon Shin-chan: Ora no Hikkoshi Monogatari ~Saboten Daishugeki)映画クレヨンしんちゃん オラの引越し物語~サボテン大襲撃มาซาคาซุ ฮาชิโมโตะ18 เมษายน 2015
ชินจัง เดอะมูฟวี่ 24 : (Crayon Shin-chan Bakusui! Yumemi World Dai Totsugeki)クレヨンしんちゃん 爆睡!ユメミーワールド大突撃วาตารุ ทาคาฮาชิวาคารุ ทาคาฮาชิ16 เมษายน 2016

ประเทศที่ตีพิมพ์ชินจัง[แก้]

ประเทศสำนักพิมพ์ชื่อ
ญี่ปุ่นญี่ปุ่นFutabashaクレヨンしんちゃん
ไทยไทยเนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์(NED)เครยอนชินจัง
เกาหลีใต้เกาหลีใต้Seoul Cultural Publishers, Inc.→Haksan Culture Company짱구는 못말려
เวียดนามเวียดนามKim Dong PublishingShin - cậu bé bút chì
อินโดนีเซียอินโดนีเซียIndorestu Pacific(ฉบับไม่มีลิขสิทธิ์)→Elex Media Komputindo(ฉบับลิขสิทธิ์)Crayon Shin-chan
มาเลเซียมาเลเซียComics HouseDik Cerdas
สาธารณรัฐจีนไต้หวัน ฮ่องกงฮ่องกงTong Li Comics蜡笔小新
สเปนสเปน อิตาลีอิตาลีPlaneta DeAgostiniShin-chan
เยอรมนีเยอรมนีEgmont Manga & AnimeShin-chan
ยูเครนยูเครน-Крейон Сінтян
ฝรั่งเศสฝรั่งเศสJ'ai lu,CastermanCrayon Shin-chan
สหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักรComicsOne→CMX Manga→One Peace BooksCrayon Shinchan

เฮลโลคิตตี

ตัวละคร[แก้]
จากข้อมูลตัวละครอย่างเป็นทางการสำหรับเฮลโลคิตตี ชื่อเต็มของเธอคือ คิตตีไวท์ (ญี่ปุ่น: Kitty White キティ・ホワイト Kiti howaito ?) เธอเกิดในเขตชานเมืองของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน มีความสูงเท่ากับแอปเปิ้ล 5 ผล และน้ำหนักเท่ากับแอปเปิ้ล 3 ผล ภาพลักษณ์ของเธอคือหญิงสาวที่สดใสและใจดี สนิทกับน้องสาวฝาแฝดของเธอที่ชื่อมิมมี่มาก อบคุ้กกี้เก่งและชอบทานพายแอปเปิ้ลที่แม่ทำ เธอชอบสะสมของน่ารัก ๆ และวิชาที่เธอชื่นชอบในโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ดนตรี และศิลปะ[2][10]

เฮลโลคิตตี เป็นตัวละครที่รายล้อมไปด้วยครอบครัวขนาดใหญ่ที่ทุกคนมีนามสกุล 'สีขาว'. น้องสาวฝาแฝดของเธอที่ชื่อมิมมี่ เป็นเด็กผู้หญิงที่ขี้อายมาก ชอบเย็บปักถักร้อยและฝันถึงการแต่งงาน ในขณะที่คิตตีสวมโบว์สีแดงที่หูซ้ายของเธอ มิมมี่จะสวมโบว์สีเหลืองอยู่ทางด้านขวา จอร์จซึ่งเป็นพ่อของพวกเขาเป็นคนที่น่าเชื่อถือ มีอารมณ์ขัน แต่มักจะเหม่อลอยอยู่บ่อย ๆ ในขณะที่แม่ (แมรี่) ทำอาหารเก่งและชอบทำงานบ้าน คุณปู่แอนโทนี่ชอบที่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง ส่วนคุณยายมาร์กาเร็ตชอบเย็บผ้า[10] เดียร์ แดเนียลเป็นเพื่อนในวัยเด็กของคิตตี เกิดวันที่ 3 พฤษภาคม ในลอนดอน มีชื่อจริงของแดเนียล สตาร์ เขาออกเดินทางไปกับพ่อแม่ของเขาและต้องจากเฮลโลคิตตีเป็นเวลานาน เขามีบุคลิกที่ทันสมัยและมีความอ่อนไหว เต้นและเล่นเปียโนเก่ง สนใจในการถ่ายภาพและฝันที่จะเป็นคนดัง[11] แชมมี่ คิตตี คือแมว เปอร์เซีย สีขาวที่เป็นสัตว์เลี้ยงของคิตตี อ่อนน้อมเชื่อฟังเจ้าของและชอบของที่มีประกายเงางาม สร้อยที่คล้องคอแชมมี่ห้อยกุญแจเปิดกล่องเครื่องประดับ[12] ของคิตตี นอกจากนี้คิตตียังมีสัตว์เลี้ยงเป็นหนูแฮมสเตอร์ที่มีชื่อว่าชูการ์ ซึ่งเป็นของขวัญที่ได้รับจาก เดียร์ แดเนียล[13] อีกด้วย ชอบกินหมูปิ้ง

ประวัติผู้ออกแบบ[แก้]

ยูโกะ ชิมิซุ นักออกแบบรุ่นแรกของคิตตีจนถึงปี 2010
ในปี 1962 ชินทาโร ซูจิ ผู้ก่อตั้งซานริโอ้ เริ่มขายรองเท้าแตะยางพิมพ์ลายดอกไม้[14] ซูจิสังเกตเห็นว่าสามารถเพิ่มผลกำไรให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มการออกแบบที่น่ารักบนรองเท้าแตะ จึงจ้างให้นักเขียนการ์ตูน การออกแบบตัวละครที่น่ารักสำหรับสินค้าของเขา[14] บริษัทได้ผลิตสินค้าโดยมีลายรูปตัวละครเพื่อเป็นของขวัญในโอกาสต่าง ๆ[15] เฮลโล โหลคิตตีได้รับการออกแบบโดย ยูโกะ ชิมิซุ และถูกบันทึกอยู่ในตัวละครหลักของซานริโอ้ ในต้นปี 1974 [6] ภาพของการปรากฏตัวครั้งแรกในรายการ “A vinyl coin purse” ในประเทศญี่ปุ่น เป็นภาพที่คิตตีนั่งอยู่ระหว่างขวดนมและชามปลาทอง[16] และปรากฏตัวครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1976[5]

บริษัทตัดสินใจที่จะสร้างให้เฮลโลคิตตีเกิดใประเทศอังกฤษ เพราะในช่วงเวลาที่คิตตีถูกสร้างขึ้นมา อะไรก็ตามที่มาจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษให้ความรู้สึกทันสมัยมาก สำหรับคนญี่ปุ่น นอกจากนี้ ซานริโอ้ก็มีตัวละครอื่น ๆ ที่เกิดในสหรัฐอยู่แล้ว พวกเขาจึงต้องการสร้างให้คิตตีมีความแตกต่าง[7][17] ออกไป ชิมิซุ ได้ชื่อคิตตี จากนิยายชื่อมองผ่านกระจก ของ ลูอิส แครอล ที่อยู่ในตอนต้นของหนังสือ ที่อลิซเล่นกับแมวของเธอที่ชื่อ คิตตี[18] คำขวัญซานริโอ้ คือ "การสื่อสารในสังคม" และซูจิอยากชื่อของแมวที่จะสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งนั้น ครั้งแรกที่เขาคิดว่า "ไฮ คิตตี" ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ "เฮลโล" ซึ่งสื่อถึงคำอวยพร[19] ได้ด้วยตัวแทนประชาสัมพันธ์ของบริษัทได้อธิบายว่าคิตตีไม่มีปากเพราะพวกเขาต้องการให้ผู้คนมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครและมีความสุข หรือเศร้าร่วมไปกับคิตตี[7][20] อีกอย่างหนึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมคิตตีไม่มีปากคือการที่เธอ" พูดออกมาจากหัวใจ” คิตตีเป็นเหมือนกับทูตของซานริโอ้สู่ทั่วโลกและไม่ได้ยึดติดกับภาษา[17] ใดโดยเฉพาะ "บริษัทมองเห็นคิตตีเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพและพวกเขาหวังว่าเธอจะส่งเสริมมิตรภาพระหว่างผู้คนทั่วโลก[7] มีบางคนให้ข้อสังเกต[โดยใคร?] ว่าเฮลโลคิตตีมีต้นกำเนิดมาจากแมวกวักของญี่ปุ่น มาเนกิ เนโกะ ซึ่งชื่อคิตตีเองก็มีที่มาจากแมวกวัก (มาเนกิ เนโกะ ภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งหมายถึงการกวักมือเรียกแมวในภาษาอังกฤษ

ประวัติ[แก้]
หลังจากที่เปิดตัวปี 1974 เฮลโลคิตตี ก็ขายดีในทันที และ ส่งผลให้ยอดขายรวมของซานริโอ้เพิ่มขึ้นถึงเจ็ดเท่าหลังจากที่เผชิญกับภาวะยอดขายตกต่ำในปี 1978[7][21] มีคอลเลคชั่นคิตตีที่ออกแบบแปลก ๆ ใหม่ ๆ รวางจำหน่ายสู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นไปในสังคมในปัจจุบัน ทั้งนี้ ยูโกะ ยามากูชิ ซึ่งเป็นนักออกแบบหลักของเฮลโลคิตตี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกล่าวว่า เธอได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบคิตตี รุ่นใหม่ ๆ จากแฟชั่น, ภาพยนตร์และโทรทัศน์[7][21]

ในช่วงแรกที่คิตตีเน้นการทำตลาดเฉพาะเด็กผู้หญิงเท่านั้น แต่ตั้งแต่ปี 1990 กลุ่มเป้าหมายสำหรับคิตตีได้ขยายออกไปยังกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ในฐานะที่เป็นแบรนด์ย้อนยุค[7][17] ทั้งนี้ซานริโอ้เริ่มมีการออกแบบผลิตภัณฑ์คิตตีสำหรับผู้ใหญ่มากขึ้น เช่นกระเป๋าและแล็ปท็อป [7][17][21] เพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มนี้เป็นพิเศษ ในปี 1994-1996 มีการวางจำหน่าย เฮลโลคิตตี รุ่นคิตตี เฟซ ซึ่งเน้นการออกแบบสินค้าเพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น[7]

ซานริโอ้ กล่าวว่า ในปี 1999 มีคิตตีรุ่นใหม่ ๆ ออกวางจำหน่ายถึง 12,000 แบบต่อปี[19] ทั้งนี้ในปี 2008 สามารถทำรายได้กว่าหนึ่งร้อยล้านดอลล่าร์ ซึ่งมากถึงครึ่งหนึ่งของรายได้รวมของซานริโอ้ทั้งบริษัท ทั้งนี้คิตตีมีวางจำหน่ายมากกว่า 50,000 แบบในกว่า 60 ประเทศ[17]ทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ด้วยแนวโน้มแฟชั่นในญี่ปุ่น ส่งผลให้บริษัทเริ่มใช้สีเข้ม ลดสีชมพู และใช้การออกแบบที่มีรูปแบบที่น่ารัก[21] น้อยลงในการออกแบบคิตตีรุ่นใหม่ ๆ

สินค้า[แก้]

The Hello Kitty Airbus A330-200.
แรกเริ่มเดิมทีที่กลุ่มเป้าหมายหลักของเฮลโลคิตตี ยังคงเป็นเด็กหญิงอยู่นั้น สินค้าที่ผลิตออกมายังเป็นพวกตุ๊กตา, สติ๊กเกอร์, การ์ดอวยพร, เสื้อผ้า, ของใช้กระจุกกระจิก, เครื่องเขียน และกระเป๋าใส่เครื่องเขียน แต่หลังจากที่มีขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ก็มีการวางจำหน่ายสินค้าประเภท เครื่องปิ้งขนมปัง, โทรทัศน์, เครื่องใช้ในบ้าน, อุปกรณ์นวด และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยลักษณะของผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่สินค้าทั่วไป, สินค้าราคาสูง และสินค้าประเภทของสะสมหายาก[22]

การเงิน[แก้]
ในปี 2009 ธนาคารแห่งอเมริกา นำเสนอสมุดเช็คและบัตรวีซ่าเดบิตในธีเฮลโลคิตตี ซึ่งมีใบหน้าของคิตตีบนเช็คและบัตร[23] ทั้งนี้บัตรเดบิตการ์ด มาสเตอร์การ์ดได้ใช้เฮลโลคิตตี เป็นธีมบัตรมาตั้งแต่ปี 2004[24]แล้ว

สินค้าประเภทไฮ เอน (สินค้าที่มีราคาสูง)[แก้]

Sanrio Shop in มาดริด with the Hello Kitty character outline as the entryway
ซานริโอ้และบริษัทคู่ค้าได้ออกผลิตภัณฑ์เฮลโลคิตตีภายใต้สินค้าหลาย ๆ แบรนด์ เช่นกีตาร์ไฟฟ้า เฮลโลคิตตี สตาร์โตแคสเตอร์ (ภายใต้แบรนด์ เฟนเดอร์ในสหรัฐอเมริกาในปี2006) และ แอร์บัส A330-200 ได้ออกแบบเครื่องบินเชิงพาณิชย์ สำหรับเครื่องบินเจ็ทในนามเฮลโลคิตตี เจท (ของสายการบินอีวาแอร์เวย์ของไต้หวันในปี2005- 2009)[25] ซึ่งตั้งแต่ปลายปี 2011 ถึงต้น 2012, อีวาแอร์เวย์สามารถกลับมาทำกำไรได้อีกครั้งด้วยการออก "เฮลโลคิตตี เจท" ด้วย A330-300s ลำใหม่ถึง 3 ลำด้วยกัน และต้องเพิ่ม A330-200s อีกถึง 2 ลำหลังจากที่มีความต้องการของตลาดเป็นอย่างมากในช่วงกลางปี 2012 ปี หลังจากนั้นอีก 1 ปี อีวาแอร์เวย์ก็ได้เพิ่มเครื่อง 777-300ERs ให้เป็นเฮลโลคิตตี เจท อีกหนึ่งลำ ซึ่งไม่เพียงแต่คิตตีเท่านั้น ยังมีตัวละครซานริโอ้อื่น ๆ บนเครื่องบินอีกด้วย ในปี 2009 นอกเหนือจากเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ แล้ว คิตตียังเข้าสู่ตลาดไวน์ โดยมีถึง 4 รูปแบบ โดยเป็นการจำหน่ายแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีไว้เพื่อตอบสนองการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้น[26]

เครื่องประดับ[แก้]
ในฤดูใบไม้ผลิปี 2005 บริษัทซิมมอนส์ จิวเวลรี่และ ซานริโอ้ได้ประกาศความร่วมมือออกแบบเครื่องประดับร่วมกัน "คิโมรา ลี ซิมมอนส์ สำหรับเฮลโลคิตตี" ที่เปิดตัวเฉพาะห้างไนแมน มาร์คัส ในราคาตั้งแต่ 300 ถึง 5,000 ดอลลาร์ ออกแบบโดย คิโมรา ลี ซิมมอนส์ และเปิดตัวเป็นคอลเลกชันแรก เป็นเครื่องประดับทั้งหมดทำด้วยมือซึ่งประกอบด้วยเพชร,อัญมณีและหินมีค่า, ทอง 18K,เงินสเตอร์ลิง,เครื่องประดับลงยาและเซรามิก[27]

ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 ซิมมอนส์ จิวเวลรี่และซานริโอ้ ได้ออกเครื่องประดับและนาฬิกาในคอลเลกชัน "เฮลโลคิตตี®โดยซิมมอนส์ จิวเวลรี่" ซึ่งคอลเลกชันดังกล่าวร่วมมือกับ เซลส์ คอร์ปอร์เรชั่น เพื่อขยายการเข้าถึงของแบรนด์และการพัฒนาเครื่องประดับเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของแฟนคิตตีทุกระดับ การออกแบบใช้การรวมอัญมณีหลากสีสันและเงินสเตอร์ลิงที่สามารถดึงดูดใจลูกค้าวัยรุ่นด้วยราคาขายปลีกเริ่มต้นที่ 50 ดอลลาร์[28]

อ้างอิง[แก้]
กระโดดขึ้น ↑ Sanrio's Shocking Reveal: Hello Kitty Is NOT A Cat: LAist
↑ กระโดดขึ้นไป: 2.0 2.1 2.2 2.3 "Hello Kitty". Sanrio. สืบค้นเมื่อ 22 December 2010.
กระโดดขึ้น ↑ "サンリオキャラクターたちの本名、言えますか?" (ใน Japanese). 2008-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-07-11.
กระโดดขึ้น ↑ "Hello Kitty Hooks Generations On Cute, Kitsch". NPR. 2010-12-03. สืบค้นเมื่อ 2012-08-13.
↑ กระโดดขึ้นไป: 5.0 5.1 Dhamija, Tina (April 1, 2003). "Designing an Icon: Hello Kitty Transcends Generational and Cultural Limits". ToyDirectory. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
↑ กระโดดขึ้นไป: 6.0 6.1 "Hello Kitty celebrates 30". China News Daily. 2005-08-19. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
↑ กระโดดขึ้นไป: 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 7.8 Takagi, Jun (August 21, 2008). "10 Questions for Yuko Yamaguchi". TIME. สืบค้นเมื่อ 2009-10-31.
กระโดดขึ้น ↑ Tabuchi, Hiroko (May 14, 2010). "In Search of Adorable, as Hello Kitty Gets Closer to Goodbye". เดอะนิวยอร์กไทมส์. สืบค้นเมื่อ 2012-10-06.
กระโดดขึ้น ↑ Detroit Free Press, HELLO KITTY STILL BOWLING ’EM OVER, by Jenee Osterheldt, page D1, July14, 2014
↑ กระโดดขึ้นไป: 10.0 10.1 "Sanrio - Hello Kitty Family". Sanrio. Archived from the original on 16 August 2012. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
กระโดดขึ้น ↑ "Sanrio - Dear Daniel". Sanrio. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
กระโดดขึ้น ↑ "Sanrio - Charmmy Kitty". Sanrio. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
กระโดดขึ้น ↑ "Hello Kitty, My Melody, and other Sanrio characters at SanrioTown".
↑ กระโดดขึ้นไป: 14.0 14.1 Belson, K. (2003). Asia times online. The cat who turned kawaii into cash. Retrieved May 19, 2011, from http://www.atimes.com/atimes/Japan/EL13Dh01.html
กระโดดขึ้น ↑ "Sanrio Europe". สืบค้นเมื่อ 2009-09-14.
กระโดดขึ้น ↑ "Hello Kitty Turns 35". Time. 2009-06-01. สืบค้นเมื่อ 2012-03-14.
↑ กระโดดขึ้นไป: 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ independent
กระโดดขึ้น ↑ "Hello Kitty, You're 30". St. Petersburg Times. November 15, 2004. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
↑ กระโดดขึ้นไป: 19.0 19.1 Tracey, David (May 29, 1999). "The Small White Cat That Conquered Japan". New York Times.
กระโดดขึ้น ↑ Walker, Rob. Buying In: The Secret Dialogue Between What We Buy and Who We Are. Random House, Inc., 2008. 18. Retrieved from Google Books on August 30, 2010. ISBN 1-4000-6391-4, ISBN 978-1-4000-6391-8.
↑ กระโดดขึ้นไป: 21.0 21.1 21.2 21.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nytimes2010
กระโดดขึ้น ↑ Paschal (2003-05-18). "Sanrio's Hula Kitty heads to the beach". Honolulu Star-Bulletin. สืบค้นเมื่อ 1998-08-21.
กระโดดขึ้น ↑ ""Bank of America's "My Expression Banking" page with the Hello Kitty theme". สืบค้นเมื่อ 2010-01-21.
กระโดดขึ้น ↑ Mayer, Caroline E. (October 3, 2004). "Girls Go From Hello Kitty To Hello Debit Card". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-01.
กระโดดขึ้น ↑ "World's first `Hello Kitty' airplane to make debut Lunar New Year flights". The Taipei Times. December 13, 2005.
กระโดดขึ้น ↑ Garcia, Catherine (March 26, 2010). "Please pass the bubbly, Hello Kitty". EW.com.
กระโดดขึ้น ↑ "Kimora Lee Simmons for Hello Kitty". สืบค้นเมื่อ 4 May 2011.
กระโดดขึ้น ↑ "Hello Kitty Fine Jewelry". สืบค้นเมื่อ 4 May 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
เฮลโลคิตตี
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Thai police to wear 'Hello Kitty' armbands as punishment
Official Hello Kitty website
Sanriotown
Kittylab Singapore Expo 2009 Hello Kitty 35th Anniversary Project Kitty Lab
How Hello Kitty Conquered the World April 12, 2013 Wall Street Journal
แม่แบบ:เฮลโลคิตตี