วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



วันวิชาการ
วันวิชาการ ทำให้คนสามารถช่วยกันออกไอเดีย ได้ช่วยกันลงมือทำ เกิดความสามัคคี และช่วยเหลือกันภายในกลุ่มในห้อง และได้รู้ความเรียบร้อย และความสวยงามของงานที่ทำ



จิตสาธารณะ5
ทำความสะอาดบ้าน เก็บของ ล้างรถให้ยาย และช่วยครูยกของ ทำความสะอาดในโรงเรียน 
ไปทำงานที่วัด ช่วยงานศพ ไปเก็บขยะบริเวณหน้าบ้าน การได้ทำความดีทำให้เราสุขใจอิ่มในสิ่งดีๆที่เราได้ทำ


วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ตุ๊กตาจ๋า เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2494[1] ในรูปแบบฟิล์ม 16 มม. สี เป็นเรื่องแรกที่ รัตน์ เปสตันยี [2] อำนวยการสร้าง, กำกับการแสดง, เขียนบท, กำกับภาพ สร้างโดยบริษัทอัศวินภาพยนตร์ ผู้ช่วยถ่ายภาพโดย ปง อัศวินิกุล ซึ่งเมื่อออกฉายได้การตอบรับที่ดี และมีส่วนผลักดันให้รัตน์ เปสตันยี สนใจที่จะทำหนังอย่างจริงจัง
ก่อนที่จะได้รับการชักชวนจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ให้มาเป็นช่างถ่ายภาพภาพยนตร์ 16 มม. เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ที่กำกับโดย มารุตมาก่อน หลังจากนั้นรัตน์ก็เริ่มต้นทำหนังเรื่องแรกของตัวเอง ซึ่งรับหน้าที่ทั้งกำกับการแสดง เขียนบทและกำกับภาพโดยภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้ช่วยถ่ายภาพโดย ปง อัศวินิกุล โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้บริเวณบ้านที่ถนนวิทยุ เป็นสถานที่ในการถ่ายทำ เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี[3] เป็นเหตุให้คุณรัตน์ ตั้งโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงมาตรฐาน 35 มม. ในนามบริษัทหนุมานภาพยนตร์ ซึ่งสั่งเครื่องมือจากฮอลลีวู้ดทั้งหมด [4]
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการแสดงเรื่องแรกของ อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นนักแสดง นักร้อง และนาฎศิลปิน ที่มีผลงานทางภาพยนตร์และโทรทัศน์ มากมายจนถึงปัจจุบัน

เรื่องย่อ[แก้]

ตุ๊กตา เด็กหญิงวัยเบเบาะถูกอุดมผู้เป็นญาติลักพาตัวเนื่องจากมีความคับแค้นต่อพ่อของตุ๊กตา ถูกนำไปฝากไว้กับละม้าย น้าสาวที่ไม่ถูกกับพ่อที่เมืองกาญจน์แต่ละม้ายไม่ยอมให้ความร่วมมือจึงถูกอุดมฆ่าตาย ก่อนที่จะหนีไปทิ้งตุ๊กตาข้างๆ ศพของละม้าย แล้วเขียนจดหมายอำพรางคดี ซึ่งระบุชื่อของตุ๊กตาไว้ด้วย ระหว่างนั้น ธรกับโจ้ สองโจรกระจอกเข้ามาพบกับตุ๊กตาและด้วยความสงสารจึงนำไปเลี้ยงที่บ้าน ทั้งคู่ให้ความรักเหมือนลูกในไส้ จนกระทั่ง 10 ปีผ่านไป ตุ๊กตาเติบโตขึ้น โดยคิดว่าโจ้และธรเป็นพ่อที่แท้จริง วันหนึ่งขณะที่ธรกับโจ้กำลังลักเล็กขโมยน้อยอยู่ตามปกตินั้นก็ได้พบกับไพริน หญิงสาวผู้เลอโฉมความงามของเธอทำให้ธรซึ่งมีรูปร่างอัปลักษณ์อดหลงรักไม่ได้แต่ธรเข้าใจว่าไพรินมีความหยิ่งยโสจึงคิดแก้แค้นด้วยการเข้าไปขโมยของในบ้านของไพรินและเขาได้รับรู้ว่าไพรินนั้นตาบอดและที่สำคัญไพรินคือพี่สาวแท้ๆ ของตุ๊กตาที่เพิ่งย้ายตามคุณนายมณี ผู้เป็นมารดามาอยู่ที่เมืองกาญจน์
ธรเล่าเรื่องทั้งหมดให้โจ้ฟังแล้วสำทับให้โจ้เก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับแต่ด้วยความรักที่มีต่อไพรินจึงออกอุบายว่าเป็นเศรษฐีค้าหนังสัตว์และได้พาโจ้กับตุ๊กตาไปทำควมรู้จักกับคุณนายมณี ความน่ารักของตุ๊กตาทำให้ทั้งสามกลายเป็นแขกคนสำคัญของคุณนาย ธรคิดจะสู่ขอไพรินตามคำแนะนำของโจ้ เพื่อความฝันของตัวเองและเพื่ออนาคตที่ดีของโจ้และตุ๊กตา แต่ไม่ทันได้ทำตามความประสงค์ก็ต้องพบว่าไพรินมีคู่หมั้นแล้วและกำลังจะแต่งงาน ธรผิดหวังมากจึงคิดว่าความอัปลักษณ์ของตนเองเป็นเหตุให้ไพรินไม่รัก แต่โชคร้ายไม่หมดเพียงแค่นั้นเมื่อธรได้พบกับอุดมซึ่งกลับมาที่เมืองกาญจน์อีกครั้ง อุดม หวังที่จะนำตุ๊กตาไปเรียกค่าไถ่กับคุณนายมณี จึงข่มขู่และนัดเวลาให้ธรมอบตุ๊กตาให้ ธรเกรงว่าตุ๊กตาจะตกอยู่ในอันตรายจึงให้โจ้พาตุ๊กตาไปคืนคุณนายมณีพร้อมเล่าความจริงให้ฟัง เมื่ออุดมมาตามเวลานัด ไม่พบตุ๊กตาจึงโมโหมาก ทั้งสองต่อสู้กัน ธรฆ่าอุดมตาย แต่เขาก็ได้รับบาดเจ็บจากปืนของอุดมและตายในเวลาต่อมา ตุ๊กตากลับไปอยู่กับแม่และพี่สาวอย่างปลอดภัย ส่วนโจ้แม้ว่าคุณความดีจะเปิดโอกาสให้มีชีวิตที่ดีกว่า แต่เขาเลือกที่จะอยู่ในกระท่อมเล็กๆ หลังเดิม อยู่เป็นเพื่อนดวงวิญญาณธรเพื่อนรักที่จากไป [5

กล้วยไม้

กล้วยไม้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้วยไม้
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 80–0 Ma
O
S
D
C
P
T
J
K
N
หลังยุคครีเทเชียส – ปัจจุบัน
ภาพเขียนโดย Ernst Haeckel's Kunstformen der Natur, 1904
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
ไม่ถูกจัดอันดับ:Angiosperms
ไม่ถูกจัดอันดับ:Monocots
อันดับ:Asparagales
วงศ์:Orchidaceae
Juss.[1]
สกุลต้นแบบ
Orchis
Tourn. ex L.
วงศ์ย่อย
แผนที่การกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้ทั่วโลก
กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 899 สกุล และมีประมาณ 27,000 ชนิดที่มีการยอมรับ[2][3] คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด[4] มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และPleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า
กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) สามารถแบ่งตามลักษณะการเติบโตได้ดังนี้
  • กล้วยไม้อากาศ (epiphyte) คือ กล้วยไม้ที่เกาะหรืออิงอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น
  • กล้วยไม้ดิน (terrestrial) คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
  • การจำแนกวงศ์ย่อยของกล้วยไม้[แก้]

    วงศ์ย่อยต่างๆ ของกล้วยไม้ ได้แก่
    • APOSTASIOIDEAE Rchb. f. เป็นกลุ่มไม้ที่เติบโตบนพื้นดินในป่า มี 2 สกุล คือ Apostasia และ Neuwiedia
    • CYPRIPEDIOIDEAE Lindley เป็นกลุ่มไม้ที่เกิดบนพื้นดิน โขดหิน และบนซากอินทรีย์วัตถุ มี 4 สกุล คือ CypripediumPaphiopedilum (สกุลรองเท้านารี) ,Phragmipedium และ Selenipedium
    • SPIRANTHOIDEAE Dressler ไม่พบกล้วยไม้ไทย และลูกผสมไทยที่เกิดในวงศ์ย่อยนี้
    • ORCHIDOIDEAE ไม่พบในไทย
    • EPIDENDROIDEAE วงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายด้านที่อยู่อาศัย และรูปร่างลักษณะ มีหลายสกุลในวงศ์นี้ที่พบ และนิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ สกุล Vanillaสกุลต่างๆ ในกลุ่มแคทลียา สกุลหวาย และสกุลสิงโตกลอกตา
    • VANDOIDEAE Endlicher ได้แก่ กลุ่มแวนด้า
    • การกระจายพันธุ์[แก้]

      พืชในวงศ์กล้วยไม้นั้นสามารถพบได้ทั่วโลก มีถิ่นอาศัยในหลายๆภูมิประเทศยกเว้นทะเลทรายและธารน้ำแข็ง โดยส่วนมากจะพบในเขตร้อนของโลก คือเอเชีย,อเมริกาใต้ และอเมริกากลาง นอกจากนั้นยังพบเหนืออาร์กติก เซอร์เคิลในตอนใต้ของพาทาโกเนียและยังพบบนเกาะแมคควารี ซึ่งใกล้กับทวีปแอนตาร์กติกา
      การกระจายพันธุ์โดยสังเขปมีดังนี้:
      • อเมริกาเขตร้อน: 250 - 270 สกุล
      • เอเชียเขตร้อน: 260 - 300 สกุล
      • แอฟริกาเขตร้อน: 230 - 270 สกุล
      • โอเชียเนีย: 50 - 70 สกุล
      • ยุโรปและเอเชียเขตอบอุ่น: 40 - 60 สกุล
      • อเมริกาเหนือ: 20 - 25 สกุล

ทานตะวันนน

ทานตะวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ทานตะวัน (แก้ความกำกวม)
ทานตะวัน
ดอกทานตะวันสีเหลืองสว่าง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Asterales
วงศ์:Asteraceae
เผ่า:Heliantheae
สกุล:Helianthus
สปีชีส์:H. annuus
ชื่อทวินาม
Helianthus annuus
L.
ทานตะวัน มีชื่อตามภาษาถิ่นพายัพว่า บัวผัด เป็นพืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ"ทานตะวัน"ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในสกุล Helianthus ด้วยเช่นกัน
ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล

ตำนานดอกทานตะวัน[แก้]

ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้ ที่งดงามมาก

การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย[แก้]

ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก ปัจจุบัน มีการปลูกทานตะวันเป็นท้องทุ่งจำนวนมากในประเทศไทย แม้กระทั่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ ริมถนนประเสริฐมนูกิจ หลังโรงเรียนสตรีวิทยา 2 เขตลาดพร้าว จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และนิยมถ่ายรูปที่ได้รับความนิยม [2]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร
ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์[3] และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg [4][5]

น้ำมันทานตะวัน[แก้]

สามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้ เช่น การนำมาผัด หรือนำมาปรุงน้ำสลัด มีบางส่วนที่นำมาใช้บริโภคเป็นน้ำมันและเครื่องสำอาง น้ำมันจากเมล็ดทานตะวันเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง โดยมีน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ (ช่วยลดคอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง) และยังประกอบไปด้วยวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเคอีกด้วย เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานก็ไม่เกิดกลิ่นหืน อีกทั้งยังทำให้สีกลิ่นและรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะนำมาใช้เป็นน้ำมันพืชแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ทำเนยเทียม น้ำมันสลัด ครีม นมที่มีไขมัน และอาหารอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสี ฟอกสี ทำสบู่ น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ทำฟิล์ม ใช้ในการฟอกหนัง เคลือบผิวผลไม้ในลักษณะขี้ผึ้ง เช่น การทำเทียนไข หรือเครื่องสำอาง บ้างใช้เป็นน้ำมันนวด หรือใช้เป็นส่วนผสมของครีมนวดผม หรือผสมในโลชั่นบำรุงผิว (เนื่องจากมีวิตามินอีสูง) กากจากเมล็ดทานตะวันหลังการสกัดเอาน้ำมัน จะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 30-40% สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ และยังใช้เป็นแหล่งแคลเซียมสำหรับปศุสัตว์ได้เป็นอย่างดี แต่จะมีปริมาณของกรดอะมิโนอยู่เพียงเล็กน้อย และขาดไลซีน จึงต้องนำมาใช้อย่างรอบคอบ เมื่อจะนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์ที่มิใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง นำมาใช้ทำ Lecithin(เลซิทิน) เพื่อใช้ในทางการแพทย์ในการช่วยลดคอเลสเตอรอลในคนไข้ที่มีคอเลสเตอรอลในเส้นเหลือด

กุหลาบบ

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเวเบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐมสมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น
ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น


สนสองใบหรือเกี๊ยะดำ ชื่อวิทยาศาสตร์Pinus merkusii ภาษากะเหรี่ยงเรียกโชซู ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกสีดำหรือน้ำตาลอมดำ เปลือกหนามาก กระพี้สีเหลืองอ่อน มียางซึมออกมาจากแก่น ใบเดี่ยวเป็นกระจุก กระจุกละสองใบ โคนแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อสีเหลือง โคนตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ มีเกล็ดโดยรอบ สีเหลืองอมเขียว ภายใต้เกล็ดมีโอวุลหลายอัน เมล็ดมีปีกบางๆ 2 ปีก เนื้อไม้ใช้ทำโครงสร้างต่างๆของบ้าน เช่น ฝา เสา หลังคา และใช้ทำฟืน
สนทะเล (ชื่อวิทยาศาสตร์Casuarina equisetifolia) เป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณตั้งแต่พม่าถึงเวียดนาม และออสเตรเลีย [1] พบในมาดากัสการ์ด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณนั้นหรือไม่[2][3] มีการนำไปปลูกในสหรัฐและแอฟริกาตะวันตก[4]และเป็นพืชรุกรานในฟลอริดา[5][6]
สนทะเล เป็นพืชมีดอก ส่วนปลายกิ่งเปลี่ยนไปทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงจึงมีสีเขียว ใบจริงติดเป็นวงรอบข้อ ผลขนาดเล็กคล้ายลูกทุเรียน แข็ง แห้งแตก ปล่อยเมล็ดกระจายออกไป เมล็ดมีปีก ปลิวตามลมได้ดี ลำต้นลู่ลมได้ดี ลดแรงต้านจากพายุ เปลือกลำต้นขรุขระทำให้น้ำฝนไหลผ่านได้ช้า สามารถดูดซับแร่ธาตุจากน้ำฝนได้ดี มีเห็ดอาศัยร่วมกับรากสนช่วยย่อยสลายเศษซากพืชเพื่อให้สนใช้เป็นปุ๋ย เปลือกไม้ใช้ทำสีย้อมผ้าได้
สนสามใบ หรือ เกี๊ยะแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์Pinus kesiyaภาษากะเหรี่ยงเรียก โชบอ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลแดง หลุดออกเป็นเกล็ด ใบเดี่ยวเป็นกระจุก สีเขียวอ่อนกระจุกละสามใบ โคนแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้ออกเป็นกลุ่ม เมื่ออ่อนเป็นสีเหลืองซีด แก่แล้วเป็นสีม่วง โคนตัวเมียสีม่วงอมเขียว เป็นเกล็ดเล็ก ๆ เรียงเวียน แต่ละเกล็ดมีกาบรองรับ แต่ละกาบมี 2 โอวุลโคยตัวเมียที่เจริญเต็มที่เป็นรูปกรวย เมล็ดมีครีบสีขาวบางเป็นปีก เนื้อไม้ใช้ทำโครงสร้างต่างๆของบ้าน เช่น ฝา เสา หลังคา และใช้ทำฟืน

สนใบพาย (ชื่อวิทยาศาสตร์Podocarpus polystachyus) เป็นสนในสกุล Podocarpus กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 4-8 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปรีถึงรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 0.4-0.5 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ดอกแยกเพศ แยกต้น ดอกเพศผู้สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อแกนคล้ายหางกระรอกตามง่ามใบ เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 ช่อ แต่ละช่อยาว 2-4.5 เซนติเมตร ดอกเพศเมียออกเดี่ยวตามง่ามใบ รังไข่ตั้งอยู่บนก้านส่วนที่บวม ผลกลมมนหรือเบี้ยว ขนาดกว้าง 7 มิลลิเมตร ยาว 9 มิลลิเมตร[2] สนใบพายนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ลำต้นใช้ทำของใช้และใบอาจใช้รักษาโรคปวดข้อได้[3]
สนหิน ชื่อวิทยาศาสตร์Pinus pinea เป็นสนที่เป็นพืชพื้นเมืองในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปใต้และบริเวณเลอแวนต์หรือซีเรีย และยังพบตามธรรมชาติในแอฟริกาเหนือ หมู่เกาะแคนารี แอฟริกาใต้ และนิวเซาท์เวลส์ ใช้ปลูกเพื่อรับประทานเมล็ดตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบในสวนสาธารณะเกือบทั่วโลก และได้รับรางวัลจากสมาคมพืชสวนหลวง[1]